Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66303
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปวีณรัตน์ สิงสิน | en_US |
dc.contributor.author | รุจ ศิริสัญลักษณ์ | en_US |
dc.contributor.author | บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | en_US |
dc.contributor.author | แสงทิวา สุริยงค์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 125-136 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0841 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01127.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66303 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผู้ปลูกข้าวในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2) การปรับตัวและการแก้ไขปัญหาในการปลูกข้าวของผู้ปลูกข้าว ภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ปลูกข้าวในการปรับตัวภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การวิจัยที่ใช้เป็นแบบ mixed method (exploratory mixed method design) เป็นการวิจัยที่มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนแล้วจึงทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรจำนวน 7 ราย และสัมภาษณ์กลุ่ม จำนวน 13 ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า ผู้ปลูกข้าว ได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดและแมลงศัตรูพืช ดินแห้ง อีกทั้งปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าว ด้านการปรับตัวผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 8 ด้านตามแนวทางที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกรให้ความสำคัญกับการปรับตัว 2 ด้าน โดยเลือกที่จะใช้ในการปรับตัวมากที่สุด คือการปรับตัวด้านเวลาในการปลูกและการปรับตัวด้านวิธีการปลูกซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณก็ได้ผลสอดคล้องกับเชิงคุณภาพ คือการปรับเวลาการปลูก (54.6%) และการปรับวิธีการปลูก (49.5%) ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวของผู้ปลูกข้าว พบว่าขาดความรู้ ขาดการส่งเสริมเรื่องการปรับตัว และสนับสนุนจากหน่วยงาน ขาดงบประมาณในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ปลูกข้าวเสนอว่าหน่วยงานรัฐควรวางแผนการจัดการน้ำ ให้การสนับสนุนด้านความรู้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นเพื่อให้การปรับตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการจัดอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปรับตัว (Adaptation) | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) | en_US |
dc.title | การปรับตัวของผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Rice Growers’ Adaptation to Climate Change in Doi Saket District, Chiang Mai Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.