Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66285
Title: การพัฒนาคอนกรีตบล็อกจากใยบวบหอม
Other Titles: The development of concrete masonry units by luffa cylindrica fiber
Authors: ดิศสกุล อึ้งตระกูล
กิตติพงศ์ รื่นวงศ์
Authors: ดิศสกุล อึ้งตระกูล
กิตติพงศ์ รื่นวงศ์
Keywords: คอนกรีต;คอนกรีตบล็อก;ใยบวบหอม
Issue Date: 2562
Publisher: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 6, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 92-107
Abstract: บทความวิจัยนี้กล่าวถึงการพัฒนาคอนกรีตบล็อกจากใยบวบหอม เพื่อเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อมในการนำวัสดุทางการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งนำใยบวบหอมสับละเอียดมาเป็นส่วนผสมของคอนกรีตบล็อก ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก ประเภทไม่ควบคุมความชื้น มอก.58 – 2533 โดยแบ่งอัตราส่วนผสมทั้งหมดเป็น 5 อัตราส่วน มีอัตราส่วนผสมคอนกรีตบล็อกต้นแบบ คือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 : ทราย : หินฝุ่น = 1 : 3 : 5 โดยน้ำหนัก (กิโลกรัม) และน้ำสะอาด ร้อยละ 10 ของน้ำหนักส่วนผสมรวม จากนั้นจึงเริ่มเพิ่มปริมาณใยบวบหอมแทนที่หินฝุ่น ร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 โดยน้ำหนัก ผลิตคอนกรีตบล็อกด้วยแบบหล่อเหล็กรูปทรงลูกบาศก์ขนาด 10 x 10 x 10 ลบ.ซม. เพื่อทำการทดสอบความต้านแรงอัด สำหรับอัตราส่วนที่มีการเพิ่มปริมาณใยบวบหอมแทนที่หินฝุ่นมากที่สุดไปผลิตคอนกรีตรูปทรงมาตรฐานขนาด 70 x 190 x 390 มิลลิเมตร มิติพิกัด 4/5 x 2 x 4 ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.58 – 2533 ผลการวิจัยพบว่า สูตร D ซึ่งมีอัตราส่วนผสมเพิ่มปริมาณใยบวบหอมแทนที่หินฝุ่น 75 กรัม เป็นอัตราส่วนผสมที่สามารถแทนที่หินฝุ่นด้วยใยบวบหอมได้มากที่สุด มีความหนาแน่นเฉลี่ยที่ 1237.95 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ความต้านแรงอัดเฉลี่ยที่ 3.19 เมกะพาสคาล (MPa) การหดตัวทางยาวเฉลี่ยร้อยละ 0.044 และการดูดกลืนน้ำเฉลี่ยร้อยละ 11.17 และค่าสัมประสิทธิการนำความร้อนเฉลี่ยที่ 0.132 W/m.K ซึ่งสามารถนำใยบวบหอมมาเป็นส่วนผสมของคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก รวมไปถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรมได้
Description: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/145061/142537
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66285
ISSN: 2351-0935
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.