Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66280
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปวีณะ ศิริวัฒน์ชัยพรen_US
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationเจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 26-45en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/133465/119282en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66280-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractบทความนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านการทำความเข้าใจ ลักษณะการใช้งานอาคารบ้านพักอาศัยพื้นถิ่น กระบวนการดำเนินงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนการใช้สอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านวัดเกต โดยกำหนดศึกษาเฉพาะอาคารที่เป็นบ้านพักอาศัย รวมถึงเรือนค้าขาย ประเภทเรือนไม้และเรือนกึ่งไม้กึ่งปูน ที่ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอย เพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเท่านั้น วิธีการวิจัย ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูล สำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์เชิงลึกในกรณีศึกษาที่สมัครใจให้ข้อมูลจำนวน 21 โครงการ จากโครงการทั้งหมด 25 โครงการ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ มาเปรียบเทียบกับแนวทางการดำเนินงานตามหลักการสากล เพื่อให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของกระบวนการปรับเปลี่ยนการใช้สอยภายในย่าน เพื่อสามารถนำมาพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในย่านวัดเกตและประยุกต์ใช้กับชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารบ้านพักอาศัยพื้นถิ่นในย่านวัดเกตส่วนใหญ่ ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและหลักการสากล แต่เป็นการดำเนินการตามความเข้าใจในคุณค่าความสำคัญของอาคาร โดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนการใช้สอยในย่าน คือ ลักษณะกายภาพของอาคาร การให้คุณค่าความสำคัญต่ออาคารของผู้ดำเนินการ โดยสัมพันธ์ กับการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการเป็นชุมชนอนุรักษ์ที่เข้มแข็ง มีข้อเสนอแนะ 3 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย ภาครัฐควรให้ความรู้และให้การสนับสนุนในเรื่องการปรับเปลี่ยนการใช้สอย และควรทำแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะร่วมกับชุมชน 2) ด้านผู้ประกอบการในย่าน ควรรักษาความเข้มแข็งของชุมชน และส่งเสริมความร่วมมือภายในชุมชน 3) ด้านการศึกษา ควรมีการศึกษาข้อมูลเชิงช่าง และขยายขอบเขตการศึกษาไปสู่อาคารสมัยใหม่ด้วยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectบ้านพักอาศัยพื้นถิ่นen_US
dc.subjectย่านวัดเกตen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.titleการปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารบ้านพักอาศัยพื้นถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ในย่านวัดเกต จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAdaptive re - use of vernacular houses for tourism in Wat Ket Community, Chiang Maien_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.