Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66270
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฏฐณิชา ศรีบุณยวัฒนen_US
dc.contributor.authorศรีมนา นิยมค้าen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.contributor.authorฐิติมา สุขเลิศตระกูลen_US
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ อารีย์en_US
dc.contributor.authorจันท์พิมพ์ สารากรen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 199-209en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197282/137265en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66270-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสริมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมในชั้นเรียน เพราะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ความสามารถในการจดจำ และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบทดสอบความรู้ระหว่างเรียนและหลังเรียน จำนวน 4 ฉบับ สำหรับประเมินความรู้เกี่ยวกับทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ โดยผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .81, .88, .89 และ .80 ตามลำดับ และทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีคูเดอร์และริชาร์ดสัน 21 เท่ากับ .91, .88, .86, และ .93 ตามลำดับ และ 3) สื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ การประเมินประสิทธิภาพของสื่อที่พัฒนาใหม่โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทดสอบกับแบบรายเดี่ยว แบบกลุ่ม และกลุ่มภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที paired t-test ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6 / 81.3 ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเสริมความรู้และช่วยปรับปรุงการฝึกปฏิบัติทางคลินิกกุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาพยาบาลได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาสื่อen_US
dc.subjectการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นen_US
dc.titleการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.title.alternativeDeveloping of an Interactive Web-based Learning Medias on Pediatric Nursing Skills for Student Nursesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.