Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนลิน บุตรคำen_US
dc.contributor.authorอังสนา บุณโยภาสen_US
dc.contributor.authorรุจิโรจน์ อนามบุตรen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationเจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 2-25en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/129412/119280en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66269-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractดอยสุเทพและพระธาตุดอยสุเทพเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่อยู่คู่กับเชียงใหม่มาช้านาน ประวัติศาสตร์ การสร้างเมือง และการดำเนินชีวิตล้วนเกี่ยวข้องกับดอยสุเทพ ดอยสุเทพและพระธาตุดอยสุเทพจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในอดีตจะสามารถเห็นพระธาตุดอยสุเทพได้เกือบทั่วทุกที่ แต่ปัจจุบันเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้มุมมองที่เคยเห็นพระธาตุและดอยสุเทพได้ชัดเจนมีน้อยลงการวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาเมืองเพื่ออนุรักษ์มุมมองของพระธาตุดอยสุเทพจากพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจของเมือง คือ ถนนราชดำาเนินที่เป็นแนวแกนของเมือง โดยการประเมินคุณค่าเชิงทัศน์ของพื้นที่ ด้วยการแบ่งพื้นที่ตามแนวถนนออกเป็นหน่วยเชิงทัศน์ เพื่อหาจุดถ่ายภาพตัวแทนของพื้นที่ศึกษาแล้วจึงเอาภาพที่คัดเลือกได้มาทำ การปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์เพื่อให้สามารถมองเห็นดอยสุเทพได้ชัดเจนขึ้น 3 แนวทางเลือก คือ การจัดระเบียบภูมิทัศน์ปัจจุบัน การจำลองสภาพเมื่อมีอาคารตามกฎหมายเทศบัญญัติและการปรับปรุงควบคุมอาคารตามอุดมคติ หลังจากนั้นจึงนำภาพที่ได้ไปสร้างแบบสอบถามเพื่อสำรวจทัศนคติของคนเชียงใหม่ นักท่องเที่ยว และนักออกแบบสิ่งแวดล้อม ต่อแนวทางเลือกดังกล่าว ซึ่งพบว่ากลุ่มผู้ตอบมีความชื่นชอบต่อสภาพแวดล้อมที่มีการจัดระเบียบภูมิทัศน์สูงกว่าสภาพใน ปัจจุบัน แต่ความชื่นชอบลดลงเมื่อมีอาคารตามกฎหมายเทศบัญญัติเกิดขึ้น และมีความชื่นชอบสูงสุดเมื่อปรับปรุงเมืองตามลักษณะในอุดมคติ คือมีพื้นที่สาธารณะสีเขียวมากขึ้นและสามารถมองเห็นดอยสุเทพได้อย่างชัดเจน แล้วจึงนำผลที่ได้มาประมวลผลทางสถิติ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบในการหาแนวทางสำรับการกำหนดเขตจัดการเชิงทัศน์ สำหรับการอนุรักษ์มุมมองพระธาตุดอยสุเทพจากพื้นที่ถนนราชดำเนินต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพระธาตุดอยสุเทพen_US
dc.subjectดอยสุเทพen_US
dc.subjectเขตจัดการเชิงทัศน์en_US
dc.subjectการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์en_US
dc.titleแนวทางการกำหนดเขตจัดการเชิงทัศน์เพื่ออนุรักษ์มุมมองของพระธาตุดอยสุเทพจากพื้นที่ถนนราชดำเนิน จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for designation of visual management zone to preserve viewpoints of Phrathat Doi Suthep from Ratchadamnoen Road Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.