Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66262
Title: การวิเคราะห์สถานการณ์การพยาบาลเจ้าของไข้ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Other Titles: Situational Analysis of Primary Nursing, Pediatric Intensive Care Unit 2, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital
Authors: สุปราณี สายอุต
ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
รัตนาวดี ชอนตะวัน
Authors: สุปราณี สายอุต
ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
รัตนาวดี ชอนตะวัน
Keywords: การวิเคราะห์สถานการณ์;การพยาบาลเจ้าของไข้;หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม
Issue Date: 2562
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 120-130
Abstract: การพยาบาลเจ้าของไข้เป็นการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล โดยมีเป้าหมายที่จะให้การดูแลแบบองค์รวมและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพยาบาลเจ้าของไข้ ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วย 1 คน และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม 2 จำนวน 13 คน รวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และการศึกษาจากเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การพยาบาลเจ้าของไข้ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบว่า 1) การจัดองค์กรในการพยาบาลเจ้าของไข้ มีหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสายการบังคับบัญชา และกระจายอำนาจหน้าที่ให้หัวหน้าเวร โดยพยาบาลเจ้าของไข้เป็นผู้ประสานงานการดูแลผู้ป่วยกับทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องและครอบครัว ผ่านบันทึกทางการพยาบาลและการสื่อสารด้วยวาจา 2) หัวหน้าหอผู้ป่วยจัดตารางการปฏิบัติงานให้พยาบาลมีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 3) มีการมอบหมายงาน หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าเวรโดยพยายามมอบหมายให้พยาบาลเจ้าของไข้ได้ดูแลผู้ป่วยของตนเองทุกครั้งที่ขึ้นปฏิบัติงาน 4) การจัดการในเวรเพื่อความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ประเมินปัญหาผู้ป่วย วางแผนการพยาบาล ให้การดูแลตามแผนการพยาบาล การรับ ส่งเวร และการวางแผนการจำหน่าย 5) การคัดเลือกผู้ป่วย หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าเวรเป็นผู้ที่คัดเลือกและมอบหมายผู้ป่วยให้แก่พยาบาลเจ้าของไข้ โดยให้พยาบาลทุกคนได้มีโอกาสเป็นพยาบาลเจ้าของไข้ และ6) ลักษณะเฉพาะของการพยาบาลเจ้าของไข้ในองค์กร ได้แก่ การจัดการประชุมปรึกษากับครอบครัวผู้ป่วย และการทบทวนกระบวนการขณะดูแลผู้ป่วย ปัญหาและอุปสรรคในการพยาบาลเจ้าของไข้ ได้แก่ ไม่สามารถมอบหมายงานให้พยาบาลเจ้าของไข้ได้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผิดชอบทุกครั้งที่ขึ้นปฏิบัติงาน การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและการวางแผน การจำหน่ายไม่ครบถ้วน การมอบหมายผู้ป่วยให้แก่พยาบาลเจ้าของไข้ไม่เป็นไปตามข้อตกลงร่วม พยาบาลเจ้าของไข้เกิดความเครียดที่ได้ดูแลผู้ป่วยที่อาการหนักเป็นเวลานาน บทบาทพยาบาลเจ้าของไข้ไม่ชัดเจน พยาบาลเจ้าของไข้ไม่มีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษากับครอบครัวผู้ป่วย ไม่มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกันกับแพทย์ ส่วนข้อเสนอแนะได้แก่ ควรมีการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติสำหรับการพยาบาลเจ้าของไข้ ที่ประกอบด้วย บทบาทหน้าที่ของพยาบาลเจ้าของไข้ การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และการวางแผนจำหน่าย การประชุมปรึกษาของทีมที่ให้การดูแล การตรวจเยี่ยมร่วมกับแพทย์ ปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติในการมอบหมายงานเพื่อให้พยาบาลเจ้าของไข้ได้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผิดชอบทุกครั้งที่ขึ้นปฏิบัติงาน จัดหาที่ปรึกษาให้แก่พยาบาลเจ้าของไข้เมื่อเกิดความเครียด ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการพยาบาลเจ้าของไข้ให้มีคุณภาพ และจัดการกับปัญหา อุปสรรคของการพยาบาลเจ้าของไข้ ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197145/137173
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66262
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.