Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรวุฒิ ขาวทองen_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.contributor.authorสุภารัตน์ วังศรีคูณen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 176-187en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197218/137252en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66261-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractสถานการณ์การเจ็บป่วยวิกฤตเฉียบพลันของบุคคลอันเป็นที่รักจนต้องเข้ารับบริการในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นสถานการณ์วิกฤตของสมาชิกในครอบครัว ทำให้เกิดความวิตกกังวลที่อาจส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ต่อความวิตกกังวล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลของสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันที่มารับบริการในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 72 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติและกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลสองกลุ่มเท่าๆกัน เครื่องมือที่วิจัยคือ คู่มือการดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแล และเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความวิตกกังวลของกาเบอร์สัน (Gaberson, 1991) แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของคริสตันและคณะ(Kriston, et al., 2010) และแบบประเมินความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลสร้างโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแมนวิทนีย์ยู (Mann-Whitney U-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤติเฉียบพลันที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลมีความวิตกกังวล ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2.สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤติเฉียบพลันที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 3.สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤติเฉียบพลันที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลมีความพึงพอใจต่อบริการพยาบาล มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงควรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในสถานการณ์จริงที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลen_US
dc.subjectผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันen_US
dc.subjectหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินen_US
dc.titleประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยวิกฤตเฉียบพลันตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการดูแลในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Caring for Acute Critically Ill Patients Based on Family-Centered Care Concept in the Emergency Departmenten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.