Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66260
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสหัสพร ยืนบุญen_US
dc.contributor.authorเพชรน้อย สิงห์ช่างชัยen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพรen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 152-163en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197354/137314en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66260-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ เกณฑ์เข้าสู่ตำแหน่งและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยตารางอำนาจการทดสอบ ได้จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน คุณภาพเครื่องมือหาความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า 0.93 ด้านความรู้ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง KR-21 เท่ากับ 0.84 ส่วนด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตนได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.94 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง (Paired t-test, Independent t-test) ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในระดับมาก (x̄ = 12.88, SD = 1.59) ส่วนกลุ่มควบคุมมีระดับความรู้ปานกลาง (x̄ = 4.80, SD = 1.32) และพบว่าความรู้ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการเตรียมความพร้อมทำให้กลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจความก้าวหน้าทางวิชาชีพมากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะด้านความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตนด้านความมั่นใจ และมีความมุ่งมั่นในการบริหาร มีความคาดหวังในผลลัพธ์ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นผลการวิจัยแสดงนัยว่าองค์กรการพยาบาลควรมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานการเตรียมความพร้อมสำหรับก้าวสู่ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่ทุกองค์กรการพยาบาลสามารถนำไปใช้ได้เพื่อให้พยาบาลมีความพร้อมในสมรรถนะแห่งตนในการเป็นผู้บริหารระดับต้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการเตรียมความพร้อมen_US
dc.subjectผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะแห่งตนen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งen_US
dc.title.alternativeThe Effects of Readiness Preparation Program for First-Line Nurse Managers at a Secondary Level Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.