Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66259
Title: | ปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ที่เป็นมะเร็ง ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก |
Other Titles: | Predicting Factors of Uncertainty in Illness among Persons with Colorectal Cancer |
Authors: | มัสยา โปรดเจริญ พิกุล นันทชัยพันธ์ มรรยาท ณ นคร |
Authors: | มัสยา โปรดเจริญ พิกุล นันทชัยพันธ์ มรรยาท ณ นคร |
Keywords: | ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย;การสนับสนุนทางสังคม;ระยะของโรคตามการรักษา;มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก;ปัจจัยทำนาย |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 164-175 |
Abstract: | โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการเจ็บป่วยในหลายประเทศ ความรู้สึกไม่แน่นอนในสถานกาณ์ความเจ็บป่วยมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ความรู้สึกคลุมเคลือ ความยุ่งยากซับซ้อน และไม่สามารถทำนายได้ของความเจ็บป่วย การวิจัยพรรณนาเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจำนวน 100 รายที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเลือกการสนับสนุนทางสังคมกับระยะของโรคเป็นปัจจัยทำนาย มีการทบทวนระยะของโรคตามระยะของการรักษาจากแฟ้มบันทึกประวัติผู้ป่วย รวบรวมข้อมูลการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้แบบสอบถามแหล่งประโยชน์ส่วนบุคคลส่วนที่ 2 (PRQ 85-Part II) และรวบรวมข้อมูลความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยด้วยแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทั้งหมดทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายของการสนับสนุนทางสังคม ระยะของโรค และความรู้สึกไม่แน่นอนโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75 มีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 16 อยู่ในระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมและระยะของโรคร่วมกันทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยโดยรวมได้ร้อยละ 81 การสนับสนุนทางสังคมและระยะของโรคร่วมกันทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระดับปานกลางได้ร้อยละ 92 และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยระดับสูงได้ร้อยละ 75 ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนทางสังคมกับระยะของโรคตามการรักษาในฐานะปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติทางคลินิกในการแสวงหาวิธีการลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และควรมีการศึกษาเชิงทดลองเพื่อค้นหาวิธีการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อไป |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197214/137193 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66259 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.