Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธิศา ล่ามช้างen_US
dc.contributor.authorฐิติมา สุขเลิศตระกูลen_US
dc.contributor.authorปรีชา ล่ามช้างen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 114-125en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180735/128284en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66236-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractสื่อมัลติมีเดียเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสำหรับนักศึกษาพยาบาลและประเมินประสิทธิภาพของสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 47 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 12 คน และกลุ่มที่ประเมินประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็ก แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็ก แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อมัลติมีเดีย และแนวคำถามการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความต้องการสื่อมัลตีมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบผลคะแนนก่อนและหลังเรียนบทเรียนสื่อประสมโดยใช้สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ประสิทธิภาพบทเรียนสื่อมัลติมิเดียด้วยหลัก E1/ E2 เท่ากับ 80 / 80 ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.15 / 81.33 สูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่กำหนดไว้ และผลคะแนนความรู้หลังเรียนในสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.09, p < .001) และนักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมากที่สุด (ร้อยละ 46.7 และ 50.0 ตามลำดับ)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสามารถใช้เป็นสื่อให้นักศึกษาได้นำไปเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน ทำให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติพยาบาลในการให้ยาเด็กได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสื่อมัลติมีเดียen_US
dc.subjectการบริหารยาเด็กen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.titleการพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสำหรับนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Pediatric Medication Administration Multimedia for Nursing Studentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.