Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66219
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวินัย รอบคอบen_US
dc.contributor.authorสมบัติ สกุลพรรณ์en_US
dc.contributor.authorหรรษา เศรษฐบุปผาen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 144-158en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162674/117455en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66219-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของวัยรุ่นไทยและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุรา และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12-21 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 24 โรงพยาบาลในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2560 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้จำนวน 375 ราย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (Mini International Neuropsychiatric Structure Interview [M.I.N.I.] : Suicidality part) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่น (Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale: CES-D) และแบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา (Alcohol Use Identification Test: AUDIT) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลชุมชน 1. มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 64.00 2. มีพฤติกรรมการดื่มสุรา ร้อยละ 85.60 ในจำนวนนี้เป็นผู้มีพฤติกรรมการดื่มสุราแบบอันตราย ร้อยละ 8.69 แบบเสี่ยงร้อยละ 53.72 และมีพฤติกรรมดื่มสุราแบบเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 31.98 3. มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 67.73 ในจำนวนนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับมาก ร้อยละ 16.14 ในระดับปานกลาง ร้อยละ 33.46 และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในระดับน้อย ร้อยละ 50.40 4. ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .462, p < .01) 5. พฤติกรรมการดื่มสุรามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .301, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรด้านสุขภาพจิตในการกำหนดแนวทางเฝ้าระวังและประเมินภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุรา เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยรุ่นไทยที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลชุมชนต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะซึมเศร้าen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดื่มสุราen_US
dc.subjectความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายen_US
dc.subjectวัยรุ่นen_US
dc.titleภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุรา และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeDepression, Alcohol Drinking Behaviors, and Suicidal Risks of Adolescentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.