Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66218
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิลาสลักษณ์ อะหลีen_US
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำen_US
dc.contributor.authorเกสรา ศรีพิชญาการen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 132-143en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162669/117453en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66218-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมได้ง่าย จึงมักใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหาและอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ การศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation study) ครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนอาชีวศึกษาชายในจังหวัดสงขลา จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรง ชุดที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรง เครื่องมือได้รับการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมรุนแรงทางกายในระดับสูงจำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 3.1ในระดับปานกลางจำนวน 219 คนคิดเป็นร้อยละ 74.2 ในระดับต่ำจำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 22.7 และมีพฤติกรรมรุนแรงทางวาจาในระดับสูงจำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 3.7 ในระดับปานกลางจำนวน 190 คน คิดเป็นร้อยละ 64.4 ในระดับต่ำจำนวน 94 คนคิดเป็นร้อยละ 31.9 2.ปัจจัยด้านทัศนคติเชิงบวกต่อความรุนแรงกับพฤติกรรมรุนแรงทางกายของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับต่ำมาก (r = 0.26, p = 0.00) และปัจจัยด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงกับพฤติกรรมรุนแรงทางกายของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับปานกลาง (r = 0.59, p = 0.00) 3.ปัจจัยด้านทัศนคติเชิงบวกต่อความรุนแรงกับพฤติกรรมรุนแรงทางวาจาของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับต่ำมาก(r = 0.27, p = 0.00) และปัจจัยด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงกับพฤติกรรมรุนแรงทางวาจาของนักเรียนอาชีวศึกษาชาย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับปานกลาง (r = 0.70, p = 0.00) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษาที่อยู่ในจังหวัดสงขลา ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมรุนแรงทั้งกายและทางวาจาอยู่ในระดับปานกลาง และต่างมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงในระดับปานกลาง ดังนั้นควรมีการวางแผนในการป้องกันหรือลดพฤติกรรมรุนแรงทั้งทางกายและทางวาจาของวัยรุ่นชายเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อความรุนแรงในเด็กกลุ่มนี้ต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมรุนแรงen_US
dc.subjectปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงen_US
dc.subjectวัยรุ่นen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษาชายen_US
dc.title.alternativeRelated Factors of Violent Behavior Amomg Male Vocational Studentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.