Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวันเพ็ญ ทรงคำen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 97-110en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162625/117433en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66211-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractแรงงานนอกระบบเซรามิกที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 341 ราย รวบรวบข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถามในประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ภาวะสุขภาพทั่วไป ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน พฤติกรรมการทำงาน และพฤติกรรมสุขภาพของแรงงาน โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และมีค่าความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ คือ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ สัมผัสฝุ่นดิน (ร้อยละ 95) ทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 85.9-91.5) และที่ทำงานอากาศร้อนอบอ้าว (ร้อยละ 65.4) ในด้านภาวะสุขภาพทั่วไป กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.2) กลุ่มตัวอย่างระบุความเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคาม สุขภาพในการทำงานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ร้อยละ 84.8) เหนื่อยอ่อนเพลีย กระหายน้ำ (ร้อยละ 40.5) และระคายเคืองตา แสบตา (ร้อยละ 33.4) สำหรับพฤติกรรมการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติทุกครั้งทั้งด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการปฏิบัติตามหลักการทำงานที่ปลอดภัย ส่วนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ร้อยละ 37) สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (ร้อยละ 10.3 และ 4.7 ตามลำดับ) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบุคลากรสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกลุ่มแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานหลายประการ โดยควรมีทั้งมาตรการในการลดความเสี่ยงและส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาวะที่ดีและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectบทบาทของพยาบาลen_US
dc.subjectการดำเนินงานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมen_US
dc.titleสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานเซรามิก: การวิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็กen_US
dc.title.alternativeOccupational and Environmental Health Situation Among Ceramic Workers: Analysis in Community and Small Enterprisesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.