Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66210
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัญชลี จิตราภิรมย์en_US
dc.contributor.authorจิรภา เสถียรพงศ์ประภาen_US
dc.contributor.authorอารีวรรณ กลั่นกลิ่นen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 47-55en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162597/117379en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66210-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาวะเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุทำให้เกิดการยับยั้งการคลอดไม่สำเร็จ การจัดการกับความเครียดและการมีความรู้เกี่ยวกับการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จะช่วยให้สตรีที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีการจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกับกลุ่มที่ให้การพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด รับบริการที่ห้องคลอด โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ1) วิดีทัศน์การฝึกผ่อนคลายความเครียด 2) แผนการสอน เรื่องการฝึกผ่อนคลายและความรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 3) คู่มือการให้ความรู้และฝึกผ่อนคลาย และ 4) แบบบันทึกการฝึกผ่อนคลายความเครียด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนความเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จากการวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะให้นำโปรแกรมการฝึกผ่อนคลายและการให้ความรู้มาใช้ดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อลดภาวะเครียดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการฝึกผ่อนคลายen_US
dc.subjectภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดen_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกผ่อนคลายและการให้ความรู้สำหรับสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Relaxation Training Program and Education Provision for Women with Preterm Laboren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.