Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66201
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 122-135en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149346/109653en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66201-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างเป็นหนึ่งอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจากการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 350 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ทั้งแบบสัมภาษณ์ปัจจัยอันตรายและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสุขภาพจากการทำงานด้านความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องกับการสัมผัสปัจจัยอันตรายจากการทำงานที่สำคัญ คือ อาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ได้แก่ ปวดเอว (ร้อยละ 90.3) ปวดหลัง (ร้อยละ 82.0) ปวดไหล่ (ร้อยละ 80.3) ปวดขา/น่อง (ร้อยละ 72.0) อ่อนเพลียจากสภาพอากาศร้อน (ร้อยละ 71.4) เครียดจากรายได้ไม่แน่นอน (ร้อยละ 68.0) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 4.6 เคยได้รับบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงาน ซึ่งเป็นการบาดเจ็บไม่รุนแรง (ร้อยละ 62.5) สาเหตุการบาดเจ็บเกิดจากสภาพเครื่องยนต์ชำรุด/ขาดการซ่อมบำรุง (ร้อยละ 45.0) เส้นทางถนนเดินรถแคบ/โค้ง/ลาดชัน (ร้อยละ 40.0) และสภาพพื้นถนนลื่น/ขรุขระ (ร้อยละ 15.0) สำหรับอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ ขา เข่า น่อง (ร้อยละ 48.0) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าพยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับพัฒนาโปรแกรมในการลดอาการปวดในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและการจัดการความเครียดจากงาน การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสุขภาพตามความเสี่ยง ตลอดจนการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัญหาสุขภาพจากการทำงานen_US
dc.subjectภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงen_US
dc.subjectปัจจัยอันตรายจากการทำงานen_US
dc.subjectพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างen_US
dc.titleปัญหาสุขภาพจากการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeWork-related Health Problems of Taxi Drivers in Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.