Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรพล แก้วแปงจันทร์en_US
dc.contributor.authorสุภารัตน์ วังศรีคูณen_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 35-45en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149298/109604en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66197-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงและมีภาวะคุกคามต่อชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล จนกระทั่งถึงศูนย์อุบัติเหตุ สามารถลดการเสียชีวิตที่อาจป้องกันได้และป้องกันได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจัดการก่อนการเสียชีวิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลของผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิตระหว่างที่ได้รับการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ระหว่างการส่งไปหรือส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล หรือในศูนย์อุบัติเหตุระดับ 1 ตั้งแต่ มกราคม 2554 ถึง ธันวาคม 2556 จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและแบบบันทึกข้อมูลการจัดการก่อนการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดการช่วยชีวิตขั้นสูงและการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิตมีสาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุจราจร (ร้อยละ 86.28) ตำแหน่งอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ บริเวณศีรษะและลำคอ (ร้อยละ 49.02) การเสียเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 46.08) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรุนแรงของการบาดเจ็บ (Injury Severity Score) คะแนนการบาดเจ็บฉบับปรับปรุง (Revised Trauma Score)และคะแนน การบาดเจ็บและคะแนนความรุนแรงการบาดเจ็บ (Trauma Score-Injury Severity Score) เท่ากับ 24.29 (S.D. 10.85) 0.92 (S.D. 1.92) และ 0.18 (S.D. 0.22) ตามลำดับ การจัดการทางเดินหายใจ การหายใจ และระบบไหลเวียนเลือดก่อนการเสียชีวิตทั้งในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ระหว่างส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล และในศูนย์อุบัติเหตุเหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ พบการจัดการทางเดินหายใจ การหายใจ และระบบไหลเวียนเลือดไม่เหมาะสม ในระยะก่อนถึงโรงพยาบาลร้อยละ 22.22 22.22 และ 11.11 ตามลำดับ และระหว่างส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล ร้อยละ 5.88 11.76 และ 35.29 ตามลำดับ พบการจัดการระบบไหลเวียนเลือดไม่เหมาะสมในศูนย์อุบัติเหตุ ร้อยละ 37.25 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบการดูแลผู้บาดเจ็บให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บen_US
dc.subjectการจัดการก่อนการเสียชีวิตen_US
dc.titleสถานการณ์การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจัดการก่อนการเสียชีวิตen_US
dc.title.alternativeSituation of Trauma Death and Management Prior to Deathen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.