Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66195
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีณา ลิ้มสกุลen_US
dc.contributor.authorเกศรา ตั้นเซ่งen_US
dc.contributor.authorจวง เผือกคงen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 58-68en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149340/109648en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66195-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็นภาวะสมองเสื่อมได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองต่อสมรรถภาพสมองผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้น ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 – กรกฎาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุภาวะสมองบกพร่องระยะต้น อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองที่พัฒนาโดยสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตตามปกติ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถภาพสมองโมคา (MoCA test) และแบบประเมินพุทธิปัญญาเอเดส-ค็อก (ADAS-cog Thai modified version) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย คะแนนสมรรถภาพสมองโมคา (mean= 23.59, SD=2.53) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (mean= 21.71, SD = 2.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -4.08, p< .001) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินพุทธิปัญญา เอเดส-ค็อกลดลง (mean=10.75, SD=4.20) กว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (mean=13.60, SD=6.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.18, p<.01) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนโมคาสูงขึ้น (mean= 23.59, SD=2.53) กว่ากลุ่มควบคุม (mean=23.12, SD=4.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -.39, p< .01) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินพุทธิปัญญาเอเดส-ค็อกลดลง (mean=10.75, SD=4.28) มากกว่ากลุ่มควบคุม (mean=13.93, SD=6.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=1.70, p< .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองไปส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอย่างมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพสมองผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้น ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมในอนาคตได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองen_US
dc.subjectสมรรถภาพสมองen_US
dc.subjectผู้สูงอายุสมองบกพร่องระยะต้นen_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองในผู้สูงอายุที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นen_US
dc.title.alternativeThe Effectiveness of a Cognitive Stimulation Program on the Elderly with Mild Cognitive Impairmenten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.