Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66193
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิรินภา สายชนะen_US
dc.contributor.authorปิ่นหทัย ศุภเมธาพรen_US
dc.contributor.authorฐิติอาภา ตั้งค้าวานิชen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 23-34en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149297/109603en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66193-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญไลโปโปรตีน (lipoprotein metabolism) ของร่างกาย ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด โดยมีกลไกการเกิดที่ใช้เวลานับ 10 ปี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี และมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ อายุ 20 -59 ปี จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ 3) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตน 6) แบบสอบถามอิทธิพลของครอบครัว และ 7) แบบสอบถามอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามส่วนที่ 2 - 7 เท่ากับ 0.73, 0.98, 0.85, 0.95, 0.70 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และอำนาจการทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติอยู่ระดับปานกลาง ( x̄ = 3.3, S.D. = 1.1) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามรถของตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติได้ ร้อยละ 58.7 (R2 = .587 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นองค์ความรู้ในการออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะไขมันในเลือดผิดปกติen_US
dc.subjectวัยทำงานen_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติen_US
dc.title.alternativePredicting Factors of Health Promoting Behaviors among Working–age adults with Dyslipidemiaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.