Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66189
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วีระพร ศุทธากรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธานี แก้วธรรมานุกูล | en_US |
dc.contributor.author | กัลยาณี ตันตรานนท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:23Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:23Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 135-147 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145117/107248 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66189 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | เกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีลักษณะการทำงานที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานในลักษณะต่างๆ การศึกษาเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ในกลุ่มผู้ปลูกลำไย โดยสุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 383 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะการทำงาน การรับรู้การสัมผัสกับสิ่งคุกคามจากการทำงานในด้านต่างๆ และ การรับรู้สุขภาพการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.6 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา ร้อยละ 56.6 และ 31.1 ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 15.6 ปี และมีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์เฉลี่ยเท่ากับ 29.1 ชั่วโมง มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 6,000 บาท โดยร้อยละ 26.4 มีรายได้ไม่พอใช้และเป็นหนี้ การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างด้านสิ่งคุกคามจากการทำงานที่สำคัญคือ การทำงานในที่มีแสงแดดจัดและร้อนอบอ้าว (ร้อยละ 96.6 และ 95.8) การสัมผัสกับฝุ่นดินและสารเคมี (ร้อยละ 96.9 และ 82.0) การทำงานอยู่ในท่าทางต่างๆที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในระบบโครร่างและกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 83.6-98.7) นอกจากนี้ ในด้านจิตสังคมของงาน พบว่า มีจำนวนผู้ที่รับรู้ว่าลักษณะงานมีลักษณะให้รายได้หรือค่าตอบแทนที่ไม่แน่นอน (ร้อยละ 96.1) ในด้านการรับรู้อาการ/ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานในช่วง 1 เดือน พบว่ามีความสอดคล้องกับการรับสัมผัสกับสิ่งคุกคามจากการทำงาน คือ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ร้อยละ 46.5) มีความเครียด/กังวลจากรายได้หรือค่าตอบแทนที่ไม่แน่นอน (ร้อยละ 34.7) อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย และกระหายน้ำ (ร้อยละ 33.2) และ อาการปวดศรีษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ 26.6) ผลการวิจัยนี้ช่วยระบุถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานในเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสามารถใช้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้วางแผนการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | เกษตรกรปลูกลำไย | en_US |
dc.subject | สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน | en_US |
dc.title | สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มผู้ปลูกลำไย | en_US |
dc.title.alternative | Occupational Health Hazards among Longan Growers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.