Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66188
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้สุขศึกษาของพยาบาลแก่มารดาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารก |
Other Titles: | Factors Related to Maternal Health Education of Nurses for Promoting Infants Development |
Authors: | เกสรา ศรีพิชญาการ พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น บังอร ศุภวิทิตพัฒนา |
Authors: | เกสรา ศรีพิชญาการ พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น บังอร ศุภวิทิตพัฒนา |
Keywords: | การให้สุขศึกษา;การส่งเสริมพัฒนาการของทารกวัย 0-2 เดือน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 99-111 |
Abstract: | การส่งเสริมพัฒนาการทารกมักจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่วงวัย 2 เดือนแรก การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการให้สุขศึกษามารดาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 2 เดือนแรกและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ที่ดูแลมารดาหลังคลอดและ/หรือทารกวัย 0-2 เดือนจำนวน 293 ราย ผลการวิจัยพบว่าการให้สุขศึกษาฯ มีคะแนนเฉลี่ย 51.54/100 (SD=20.31) จัดอยู่ในระดับปานกลางจากการแบ่งเป็น 5 ระดับคือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก การให้สุขศึกษาแบ่งเป็น 4 ด้านพบว่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านที่ 1 ให้ข้อมูลความเสี่ยงความรุนแรงของพัฒนาการล่าช้ามีคะแนนต่ำที่สุด ตามมาด้วยด้านที่ 4 ชักนำให้ปฏิบัติโดย บอกวิธีทำ สาธิต ทำเป็นแบบอย่าง ใช้สื่อ และมอบเอกสาร ด้านที่ 2 ให้ข้อมูลด้านประโยชน์ของการกระตุ้นพัฒนาการ และด้านที่ 3 ให้ข้อมูลว่าไม่มีอุปสรรค จากสถิติ t-test หรือ Mann Whitney U พบว่าคะแนนการให้สุขศึกษาฯ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มต่อไปนี้ เพศหญิง อายุ 41-60 ปี มีบุตรแล้ว เคยอบรมเรื่องพัฒนาการเด็ก หรือมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารก มากกว่า 60/100 คะแนน ดังนั้นควรมีการพัฒนาทักษะพยาบาลในการให้สุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุรุษพยาบาล อายุน้อย ยังไม่เคยมีบุตร หรือขาดความรู้ โดยเน้นการให้ข้อมูลมารดาเรื่องความเสี่ยงและความรุนแรงของพัฒนาการล่าช้า นอกจากนั้นควรจัดทำแผนการสอน สื่อ และมีเอกสารสำหรับมอบให้มารดา |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145095/107229 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66188 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.