Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66187
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวายุรี ลำโปen_US
dc.contributor.authorเกสรา ศรีพิชญาการen_US
dc.contributor.authorยุพิน เพียรมงคลen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 112-123en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145102/107234en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66187-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากอาหารไม่ปลอดภัย แต่ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1) การรักษาความสะอาด 2) การแยกอาหารดิบและสุก 3) การปรุงสุก 4) การรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะ และ 5) การใช้น้ำและวัตถุดิบที่ปลอดภัย เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของสตรีตั้งครรภ์ (2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ และ (3) แบบวัดพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ จำนวน 200 ราย ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยเขต 1 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ร้อยละ 39.50 ของกลุ่มตัวอย่าง มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารในระยะตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่เป็นอาการท้องอืด และท้องเดิน/ท้องเสีย ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 32.19 คะแนน (S.D.= 6.73) จากการแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก ด้านที่จัดอยู่ในระดับต่ำ คือ การรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ( = 1.84 S.D.=1.37) ส่วนคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ของกลุ่มตัวอย่าง จัดอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 79.52 คะแนน (S.D. = 9.65) จาการแบ่งเป็น 5 ระดับ เหมือนกับความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ด้านที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง คือ การรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ( =8.63 S.D.=1.95) จากสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.37, p<.001) ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการให้สุขศึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะ นอกจากนั้นควรมีการสำรวจในทำนองเดียวกันในสตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้และพฤติกรรมอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอาหารปลอดภัยen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.subjectสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.titleความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativeFood Safety Knowledge and Behavior Among Pregnant Womenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.