Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนฤมล มีนาen_US
dc.contributor.authorวีระพร ศุทธากรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 88-98en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145090/107225en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66185-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติดที่เข้ารับการดูแลโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรได้รับการส่งเสริมทักษะชีวิตในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตและไม่หันกลับไปเสพซ้ำเมื่อจำหน่ายออกไป การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวเพื่อรับการบำบัดยาเสพติดและได้รับการติดตามหลังปล่อยตัว จำนวน 42 คน ร่วมกับผู้ปกครอง 42 คน รวม 84 คน แบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20-24 คน (เด็กและเยาวชนคู่กับผู้ปกครอง) ทำกิจกรรมร่วมกัน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง กิจกรรมในโปรแกรมประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ กิจกรรมโทษภัยของยาเสพติด กิจกรรมเส้นทางสู่การเลิกยา การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดยา การสำรวจตัวเอง กิจกรรมครอบครัวกับการกลับไปเสพซ้ำ การเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและกิจกรรมเป้าหมายในชีวิต เก็บข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเปรียบเทียบกัน โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย เครื่องมือวัดการพัฒนาทักษะชีวิต และความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด สถิติที่วิเคราะห์ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนการพัฒนาทักษะชีวิต และความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เกิดจากการ ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นโดยมีครอบครัวให้การสนับสนุนทำให้เด็ก และเยาวชนมีความเข้าใจตนเองและเห็นคุณค่าของครอบครัวมากขึ้น เกิดความตั้งใจต่อเนื่องที่จะพัฒนาทักษะชีวิตตนเองและตั้งใจที่จะไม่กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาทักษะชีวิตen_US
dc.subjectความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดen_US
dc.subjectโปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตen_US
dc.titleประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ได้รับการ ติดตามโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนen_US
dc.title.alternativeThe Effectiveness of the Life Skill Promoting Program and Family Participation on Life Skills Development and Intention to Quit Using Illicit Drug Among Juvenile Under Supervision by the Venue of Youth Observation and Protectionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.