Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66179
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยอดพล เทพสิทธาen_US
dc.contributor.authorฐานิดา บุญวรรโณen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationนิติสังคมศาสตร์ 11, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 142-167en_US
dc.identifier.issn2672-9245en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/140748/118563en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66179-
dc.descriptionCMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆen_US
dc.description.abstractโครงการบริหารจัดการน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมบางระกำโมเดล 60 หรือ โครงการทุ่ง หน่วงน้ำบางระกำเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำที่ได้เริ่มดำเนินการในปี 2560 บนพื้นที่อำเภอบางระกำฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมซึ่งเป็นเขตชลประทาน หลังจากที่โครงการบริหารจัดการน้ำต้นแบบบางระกำโมเดลที่ริเริ่มในปี 2554 ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วบนพื้นที่อำเภอบางระกำฝั่งขวาของแม่น้ำยมซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน นอกจากโครงการบริหารจัดการน้ำบางระกำโมเดลทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาและลักษณะพื้นที่โครงการแล้ว ยังแตกต่างกันในสาระสำคัญคือ โครงการบางระกำโมเดล 54 นั้นมีบึงธรรมชาติ 3 บึงที่ถูกขุดลอกเป็นแก้มลิงรวมทั้งก่อสร้างอาคารชลประทานบังคับน้ำ ในขณะที่โครงการบางระกำโมเดล 60 นั้นจะอาศัยการปรับปฏิทินเพาะปลูกผ่านกรอบระยะเวลาการส่งน้ำของชลประทาน กล่าวคือ โครงการบางระกำโมเดล 60 จะปรับปฏิทินให้เกษตรกรเลื่อนเวลาเพาะปลูกให้เร็วขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยชลประทานจะทำหน้าที่จัดสรรน้ำให้เกษตรกร และเกษตรกรจะต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เสร็จก่อนวันที่ 15 สิงหาคม เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนทุ่งนาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วนั้นให้กลายเป็นทุ่งหน่วงน้ำ หรือ เป็นแก้มลิงรับน้ำและหน่วงน้ำไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนเพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในเขตชุมชนและสถานที่ราชการของจังหวัดสุโขทัย และเพื่อหน่วงน้ำไม่ให้เกิดผลกระทบทางอุทกภัยกับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยในช่วงระยะเวลาเกือบ 4 เดือนของการหน่วงน้ำนั้นยังไม่ปรากฏถึงแนวทางในการเยียวยาและชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ จากเนื้อหาและรูปแบบของโครงการบางระกำโมเดล 60 จะพบว่าเกิดความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะชองประชาชนขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำการชดเชยและเยียวยาแก้ไขเพื่อไม่ให้ประชาชนในพื้นที่หน่วงน้ำต้องรับภาระอันเกินสมควร ในทางกลับกันประชาชนก็มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำต่อรัฐนั่นคือการรับภาระสาธารณะในรูปแบบที่แตกต่าง ซึ่งภาระของประชาชนนี้อยู่ภายใต้หลักแห่งความเสมอภาค กล่าวคือหากมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ประชาชนคนใดหรือกลุ่มใดที่ต้องรับภาระสาธารณะที่มากกว่าบุคคลอื่นอันทำให้ละเมิดต่อหลักความเสมอภาคแล้วนั้น แม้ว่าการนั้นจะไม่ใช่ความผิดของรัฐก็ตาม รัฐเองก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐในกรณีเช่นนี้ได้ รัฐพึงมีหน้าที่ต้องทำการเยียวยาแก้ไขให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องแบกรับภาระสาธารณะแทนบุคคลอื่นภายในรัฐ บทความชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นถึงภาพของการรับภาระสาธารณะในพื้นที่และการนำเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการชดเชยและเยียวยาแก้ไขen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectบางระกำโมเดล 60en_US
dc.subjectทุ่งหน่วงน้ำen_US
dc.subjectความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะen_US
dc.titleรื้อสร้างบางระกำโมเดล : ความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะen_US
dc.title.alternativeReconstruction Bang Rakam Model : The Inequality in Public Dutyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.