Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐวรรณ พินิจสุวรรณen_US
dc.contributor.authorกนกพร สุคำวังen_US
dc.contributor.authorภารดี นานาศิลป์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 1-13en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145015/107180en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66175-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ต่อเนื่องและเรื้อรัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล การศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมทำให้ทราบแนวทางในการช่วยเหลือผู้ดูแลกลุ่มดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ ภาระของผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (The WHOQOL Group, 1997) ร่วมกับการทบทวนเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกความจำ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาท จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 158 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ 26 ตัวชี้วัด ฉบับภาษาไทย (World Health Organization Quality of life assessment instrument: WHOQOL – BREF – THAI ) แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของซาริท (Zarit Burden Interview) ฉบับภาษาไทย แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบ็ค (The Beck depression Inventory) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เชิงอันดับของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอนผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี (\X\ ̅ = 102.38, S.D. = 14.93) ในขณะที่ภาระของผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (\X\ ̅ = 20.33, S.D. = 13.07) แรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง (\X\ ̅ = 135.45, S.D. = 19.33) และภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับปกติ (\X\ ̅= 7.03, S.D. = 4.21) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .845) ภาระของผู้ดูแลและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับสูงกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.808 และ r = -.847 ตามลำดับ) แรงสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ร้อยละ 76.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 โดยแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลได้ร้อยละ 72.9 ขณะที่ภาวะซึมเศร้าสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 76.6 ส่วนภาระของผู้ดูแลไม่สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถบ่งบอกความต้องการช่วยเหลือของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม และเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectปัจจัยทำนายen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองen_US
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Quality of Life Among Caregivers of Older Persons with Dementiaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.