Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorSurachet Arunothongen_US
dc.contributor.authorChoopong Sangsawangen_US
dc.contributor.authorPanithee Thammawijayaen_US
dc.contributor.authorSrisongchai Rattanajiamrangsrien_US
dc.contributor.authorSudjai Hoothummakulen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:45Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:45Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.issn0125-5983en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87694/69194en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65196-
dc.descriptionChiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรและคลินิกที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนยารักษาวัณโรคที่มีสาเหตุจาก การแพ้ยาในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในเขตภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบนของ ประเทศไทย วิธีการศึกษา ดำเนินการศึกษาแบบตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (cross-sectional study) ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคราย ใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 (ภาคเหนือตอนบน) ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2556 และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 (ภาคอีสานตอนบน) ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 โดยเก็บข้อมูลด้านประชากร ด้านคลินิก และข้อมูลการเปลี่ยนยา วัณโรคที่มีสาเหตุจากการแพ้ยา จากฐานข้อมูลโปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรคระดับเขตในพื้นที่ศึกษา ดำเนินการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรและคลินิกกับการเปลี่ยนยาวัณโรคที่มีสาเหตุจากการ แพ้ยาโดยใช้การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปรด้วยการทดสอบแบบถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา จากข้อมูลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จำนวน 26,444 ราย ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ 5,982 ราย ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน พบอุบัติการณ์ของการเปลี่ยนยาวัณโรคที่มีสาเหตุจากการแพ้ยาที่ร้อยละ 2.01 ผล การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปรในกลุ่มประชากรศึกษาทั้งหมดพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ เปลี่ยนยาที่มีสาเหตุจากการแพ้ยา ได้แก่ ผู้สูงอายุ ขึ้นทะเบียนรักษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพศหญิง การติดเชื้อเอชไอวีร่วม การกินยาต้านไวรัสเอชไอวีร่วม การกินยาวัณโรคแบบแยกเม็ด ความดันโลหิตสูง โรค ไตเรื้อรัง โรคตับ และโรคมะเร็ง สรุปผลการศึกษา การมีโรคตับร่วมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนยาวัณโรคที่พบได้ทั้งสองพื้นที่ ดังนั้น การศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกในอนาคตเพื่อหาวิธีการป้องกันผลข้างเคียงจากยาในกลุ่มประชากรนี้ จึงเป็น สิ่งจำเป็นที่ต้องการการศึกษาต่อไป สำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่มีปัจจัยสัมพันธ์อื่นๆร่วม มีความจำเป็นที่จะ ต้องเฝ้าระวังการแพ้ยาในระหว่างการรักษา ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่en_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherFaculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleDemographic and clinical factors associated with change of drug regimen due to adverse drug reactions among new tuberculosis patients in the upper north and upper northeast of Thailand: A secondary data analysis from a routine regional TB reporting systemen_US
dc.title.alternativeปัจจัยด้านประชากรและคลินิกที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนยารักษาวัณโรคที่มีสาเหตุจากการ แพ้ยาในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของเขตภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน ของประเทศไทย: การศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบรายงานวัณโรคปกติระดับเขตen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleเชียงใหม่เวชสารen_US
article.volume54en_US
article.stream.affiliationsBureau of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Bangkoken_US
article.stream.affiliationsFang hospital, Chiang Maien_US
article.stream.affiliationsBureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Nonthaburien_US
article.stream.affiliationsOffi ce of Disease Prevention and Control region 10th Chiang Maien_US
article.stream.affiliationsOffi ce of Disease Prevention and Control region 6th Khon Kaenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.