Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65167
Title: การคัดกรองประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อยุงลายบ้าน Aedes aegypti (Diptera: Culicidae) พาหะนําโรคไข้เลือดออก
Other Titles: Repellency screening of herbal products against the dengue fever vector, Aedes aegypti (Diptera: Culicidae)
Authors: Rukpong Sanghong
Anuluck Junkum
Wej Choochote
Udom Chaithong
Atchariya Jitpakdi
Doungrat Riyong
Benjawan Pitasawat
Authors: Rukpong Sanghong
Anuluck Junkum
Wej Choochote
Udom Chaithong
Atchariya Jitpakdi
Doungrat Riyong
Benjawan Pitasawat
Issue Date: 2014
Publisher: Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อคัดกรองประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ น้ํามันหอมระเหย และสารสกัดเอทานอลและเฮกเซนที่เตรียมจากพืชจํานวน 15 ชนิด โดยทดสอบกับยุงลายบ้าน Aedes aegypti พาหะนําโรคไข้เลือดออก วิธีการ การประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายใต้ห้องปฏิบัติการจะทําการ ทดสอบกับอาสาสมัครชายและหญิง ตามวิธีมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในกรงบรรจุยุงลายบ้าน Ae. aegypti ตัวเต็มวัยเพศเมียที่ผ่านการอดอาหารจํานวน 250 ตัว โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ สารเคมีไล่ยุง มาตรฐานดีท (DEET) ภายใต้สภาวะเดียวกัน ในการทดลองจะทาสารทดสอบปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร ลงบน ผิวหนังด้านหน้าแขนบริเวณระหว่างข้อมือถึงข้อศอกในพื้นที่ขนาด 30 ตารางเซนติเมตร จากนั้นยื่นแขนเข้าไป ในกรงยุงเป็นเวลานาน 3 นาที โดยทําทุก ๆ 30 นาที การทดสอบจะสิ้นสุดลงหากมียุงมากัดในพื้นที่ทดสอบ อย่างน้อย 2 ตัว ภายในเวลา 3 นาที ของแต่ละช่วง หรือกัดครั้งแรกและตามด้วยครั้งที่สองในช่วงเวลาต่อมา ในการทดสอบสารแต่ละชนิดจะใช้อาสาสมัคร 2 คน ทําซ้ําคนละ 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะทําคนละวัน ผลการทดลอง DEET และผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันยุงกัดได้ในระดับที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่สารสกัดเฮกเซนจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ํามันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลที่เตรียมได้จากพืช ชนิดเดียวกัน โดยสารสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ สารสกัดเฮกเซนจากเหง้าโกฐหัวบัว (Ligusticum sinense) ที่มีค่ามัธยฐานของระยะเวลาป้องกันยุงกัดเท่ากับ 6.5 (5.0-8.0) ชั่วโมง ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ DEET ที่มีค่ามัธยฐานของระยะเวลาป้องกันยุงกัดเท่ากับ 6.25 (5.0-6.5) ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาที่ทําการ ศึกษาไม่พบอาการผิดปกติของผิวหนัง เช่น ผื่นแดง บวม ระคายเคือง หรืออาการแพ้อื่น ๆ ในอาสาสมัคร ที่ทําการทดสอบ สรุปผลการทดลอง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด โดยเฉพาะสารสกัด เฮกเซนจากเหง้าโกฐหัวบัวถือเป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพสามารถนําไปพัฒนาเป็นสารไล่ยุงธรรมชาติชนิดใหม่ เพื่อ ใช้ทดแทน DEET หรือนําไปใช้ร่วมกับสารเคมีหรือวิธีการอื่น ๆ ในการควบคุมแมลงพาหะแบบบูรณาการ
Description: Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87393/69034
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65167
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.