Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65161
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorPhichaya Barameeen_US
dc.contributor.authorKittikun Viwatpinyoen_US
dc.contributor.authorThienchai Pattarasakulchaien_US
dc.contributor.authorPasuk Mahakkanukrauhen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:43Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:43Z-
dc.date.issued2014en_US
dc.identifier.issn0125-5983en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87540/69117en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65161-
dc.descriptionChiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เส้นประสาท recurrent laryngeal (RLN) มีหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อภายในกล่องเสียง ที่ควบคุมการออกเสียงและทางเดินอากาศส่วนต้น และรับความรู้สึกจากเส้นเสียงและเยื่อเมือกของกล่องเสียงที่อยู่ด้าน ล่างต่อเส้นเสียง เส้นประสาทนี้อยู่ใกล้กับต่อมไทรอยด์และมีโอกาสเสียหายได้บ่อยในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ซึ่งทําให้ผู้ป่วยมีภาวะอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ถึงแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ที่ช่วยบ่งชี้ ตําแหน่งของเส้นประสาทนี้ก็ตาม การศึกษาในอดีตชี้ว่าเส้นประสาทนี้มีการแตกแขนงนอกกล่องเสียงบ่อยครั้ง และแขนงเหล่านี้อาจไม่ได้ถูกระบุระหว่างการผ่าตัดและเสียหายได้ การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประเมิน และจัดจําแนกรูปแบบของการแตกแขนงนอกกล่องเสียงของเส้นประสาท recurrent laryngeal ในกลุ่ม ประชากรไทย วิธีการ ผู้วิจัยศึกษาเส้นประสาท recurrent laryngeal และแขนงนอกกล่องเสียงในบริเวณด้านหลังและด้าน ล่างต่อต่อมไทรอยด์ในคอจํานวน 75 ข้างจากผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา จากนั้นจึงจําแนกรูปแบบของการ แตกแขนงตามจํานวนของแขนงที่ผ่านขึ้นไปยังกล่องเสียง ความแตกต่างทางสถิติของรูปแบบการแตกแขนง นอกกล่องเสียงระหว่างข้างซ้ายและขวาคํานวณโดยการทดสอบ chi-square ผลการศึกษาและสรุปผลการวิจัย ผู้วิจัยสามารถจัดจําแนกรูปแบบการแตกแขนงนอกกล่องเสียงของเส้น ประสาท recurrent laryngeal ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ และจําแนกเพิ่มเติมได้เป็น 10 กลุ่มย่อย โดยพบเส้น ประสาท recurrent laryngeal ที่มีแขนงนอกกล่องเสียงอย่างน้อยหนึ่งแขนง จํานวน 52 ข้าง คิดเป็นร้อยละ 69.33 ของข้างที่ศึกษา ในกลุ่มนี้พบว่าประมาณร้อยละ 30 มีแขนงที่ผ่านขึ้นไปที่กล่องเสียงจํานวน 2 และ 3 แขนง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างจํานวนที่พบในข้างซ้ายและขวาในทุกรูปแบบ ข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อศัลยแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อเส้นประสาท recurrent laryngeal และอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์en_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherFaculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleOccurrence and patterns of extralaryngeal branching of the recurrent laryngeal nerve in Thai cadaversen_US
dc.title.alternativeการปรากฎและรูปแบบของแขนงนอกกล่องเสียงของเส้นประสาท recurrent laryngeal ในร่างชําแหละ ของชาวไทยen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleเชียงใหม่เวชสารen_US
article.volume53en_US
article.stream.affiliationsDepartment of Anatomy, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Anatomy, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Anatomy, Chiang Mai Universityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.