Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกรียงไกร เกิดศิริen_US
dc.contributor.authorฐาปกรณ์ เครือระยาen_US
dc.contributor.authorอิสรชัย บูรณะอรรจน์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:40Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:40Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77256/62005en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65104-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstract“จองแบบพม่าที่วัดม่อนจำศีล ลำปาง: ลักษณะทางสถาปัตยกรรมจองอย่าง พม่า และพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมา และสถาปัตยกรรมทรงคุณค่าซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในผังบริเวณ วัดม่อนจำศีล และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของจองเมื่อแรกสร้าง ตลอดจนเพื่อ การบันทึกข้อมูลสภาพปัจจุบันของจอง ตลอดจนสถานการณ์การอนุรักษ์เพื่อเป็น ฐานข้อมูลในลักษณะจดหมายเหตุ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของตัวอาคาร เฉกเช่นเดียวกันกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ เกิดขึ้นมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์ จากการศกึษาพบวา่ “จองวดัมอ่นจำศลี” เปน็อาคารทม่ีปีระวตัศิาสตรก์ารกอ่สรา้งท่ี สัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายกลุ่มชนชาติพันธ์ุซ่ึงมีภูมิลำเนาด้ังเดิมอยู่ในสาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์ ทว่าเคลื่อนย้ายมาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวและธุรกิจ ที่เมืองลำปาง จึงมีการหยิบยืมรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบอย่างพม่ามาใช้ใน การก่อสร้างเพื่อให้เชื่อมโยงกับสัมภาระทางวัฒนธรรมของตนเองในภูมิหลัง อย่างไรก็ดี จองวัดม่อนจำศีลไม่อาจรักษารูปแบบดั้งเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้างไว้ได้ เนื่องจากมีการบูรณะ การปฏิสังขรณ์ การรื้อลง และการสร้างใหม่มาโดยตลอด และปราศจากการจดบนัทกึใดๆ คงเหลอืในความทรงจำเปน็ประวตัศิาสตรบ์อกเลา่ ทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมดังเดิมของอาคารเป็นไปด้วยความยาก ลำบาก โดยการศึกษาเบื้องต้นจึงใช้การเปรียบเทียบกับจองหลังอื่นๆ ที่สร้างขึ้น ร่วมสมัยและบริบทแวดล้อมเดียวกัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 ได้มีการรวบรวม ภาพเก่าเกี่ยวกับเมืองลำปางมาจัดพิมพ์ และมีรูปภาพหนึ่งที่ไม่อาจจะอธิบายได้ ว่าเป็นภาพถ่ายของวัดใด แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันของจอง วัดม่อนจำศีลจึงพบว่าเป็นภาพถ่ายจองวัดม่อนจำศีลจากมุมมองทางด้านทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ ภาพนี้จึงกลายเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เห็นว่าจองวัดม่อนจำศีล ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างไร สำหรับเนื้อหาส่วนที่ 2 นั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสรุปของสภาพ และ สถานการณ์ปัจจุบันของวิหารวัดม่อนจำศีลที่กำลังอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่าง หนัก เนื่องจากขาดการทำนุบำรุงและการดูแลมาอย่างยาวนาน ทว่าเริ่มมีความ พยายามในการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และองค์กรเอกชน ที่มีจิตสำนึกในการพิทักษ์รักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ทว่ายังคง ติดขัดปัญหาบางประการ ซึ่งในอนาคตเมื่อกระบวนทัศน์ต่อการบริหารจัดการ มรดกวัฒนธรรม และมรดกทางสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ให้ความสำคัญกับ กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น คงจะเป็นทิศทางที่สร้างความ ยั่งยืนต่อการบริหารจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรม และมรดกทางวัฒนธรรม ของมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนมากขึ้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleจองวัดม่อนจําศีล ลําปาง : ลักษณะทางสถาปัตยกรรมจองอย่างพม่า และพัฒนาการทางรูปแบบสถาปัตยกรรมen_US
dc.title.alternativeWat Mon Cham Sin Kyuang, Lampang Province: Characteristics Burmese Architecture and Architectural Developmenten_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume6en_US
article.stream.affiliationsอาจารย์ ดร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
article.stream.affiliationsอาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลําปางen_US
article.stream.affiliationsโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (สกว.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.