Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorAlexander Horstmannen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:31Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:31Z-
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.urihttp://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/47400%201446797120.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64912-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการen_US
dc.description.abstractบทความนี้ผู้เขียนมองว่าสิทธิของชนกลุ่มน้อยต่อผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่านั้นมีการช่วงชิงเหล่าตัวแสดงที่หลากหลายในพื้นที่ต่างปฏิบัติการในสิทธิด้านเศรษฐกิจการเมือง รวมถึงองค์กรชุมชนต่างๆกลุ่มสหภาพชาติกะเหรี่ยง (เค เอ็น ยู) องค์กรสงเคราะห์ช่วยเหลือนานาชาติ องค์กรสงเคราะห์ช่วยเหลือฐานคิดด้านความศรัทธา กลุ่มสิทธิมนุษยชนท้องถิ่น และเครือข่ายกลุ่มเผบแพร่ศาสนาคริสต์ ในความขัดแย้งที่ได้เผยออกมาในรัฐกะเหรี่ยง ทางตอนตะวะนออกเฉียงใต้ของพม่าโครงสร้างอันแตกต่างของวัฒนธรรมกะเหรี่ยงและกระบวนการรื้อฟื้นของวัฒนธรรมกะเหรี่ยงได้ถูกนำมาเกี่ยวโยงกันด้วยกับอำนาจของผู้กระทำและสิทธิอันชอบธรรมต่างๆวัฒนกะเหรี่ยงกลายมามีความเกี่ยงโยงกับความเป็นชาตินิยมกะเหรี่ยงและได้ถูกประดิษฐ์สร้าง การทำให้เป็นสารัตถะ การผลักให้เป็นชนกลุ่มน้อย การจัดสรรเพื่อดึงดูดยังกลุ่มชนชั้นนำและผู้ให้การบริจาคจากตะวันตก การสร้างวัฒนธรรมกะเหรี่ยงอันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ไปแทนที่ความแตกต่างหลากหลายของชาวกะเหรี่ยง และนำเสนอต่อองค์กรผู้บริจาครวมถึงสื่อ เพื่อสามารถให้การสนับสนุนต่อ เค เอ็น ยู ต่อไปได้ ผู้เขียนหยิบยกข้อโต้เถียงในงานของเมอร์รี่ว่าด้วยขบวนการทางสังคมและองค์กรชุมชนในการแปลงและทำให้กลายเป็นท้องถิ่นต่อกรอบของกฏหมายระหว่างประเทศ งานชิ้นนี้ได้ชี้ว่า ความพยายามแรกเริ่มที่จะเชื่อมต่อองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนด้านมนุษยธรรมระดับนานาชาติและด้านความศรัทธา รวมถึงผู้เผยแพร่ศาสนาท้องถิ่นภายในหมู่บ้านกะเหรี่ยงในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของพม่าและตะวันตกเฉียงเหนือของไทย ผู้เขียนโต้แย้งว่า ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง พวกเขาสามารถเชื่อมต่อภาคส่วนด้านมนุษยธรรมในฐานะเป็นพื้นที่ที่สามหรือพื้นที่นอกรัฐและเพื่อสามารถต่อรองความต้องการของพวกเขาได้ นอกจากนี้วาทกรรมว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้ามชาติและภาคส่วนด้านมนุษยธรรมได้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องท้องถิ่นโดยชาวกะเหรี่ยวพลัดถิ่นในไทยและพม่า เพื่อพวกเขาสามารถยืนหยัดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความมั่นคงและสวัสดิการทางสังคมท่ามกลางบริบทของการกดขี่ของรัฐ งานวิจัยนี้จึงเป็นจุดเริ่มต่อประเด็นที่มีความสำคัญและการวิจัยที่ต้องทำมากขึ้นต่อไปen_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์en_US
dc.titleการประนีประนอมความทุกข์ทนของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงและภาพตัวแทนสิทธิของพวกเขาen_US
dc.title.alternativeMediating the Suffering of Karen Refugees and the Representation of their Rightsen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารสังคมศาสตร์en_US
article.volume24en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.