Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64835
Title: ความเป็นอนิจจังของพุทธไทย: จากสิ่งตกทอดผูกพันจากอดีต ถึงความ ทันสมัย และการแตกตัวออกเป็นเศษเสี่ยง
Other Titles: Thai Buddhism and Its Impermanent Fate: From Primordial Attachment to Modernization and Fragmentation
Authors: พัฒนา กิติอาษา
Authors: พัฒนา กิติอาษา
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์
Abstract: บทความชิ้นนี้เป็นผลผลิตของการอ่านเชิงสังเคราะห์ข้อเขียนทางมานุษยวิทยาว่าด้วยพุทธศาสนานิกายเถรวาทตลอดวิชาชีพของศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ ผมพยายามทำ ความเข้าใจว่า อะไรคือแก่นสำ คัญในการวิเคราะห์ตีความ หมายพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ อะไรคือข้อเสนอหลักหรือมุมมองสำ คัญของอาจารย์คายส์เกี่ยวกับพุทธ ศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจการเมือง และสังคมวัฒนธรรม และ บริบทความคิดวิชาการของท่านคืออะไรและผลงานของท่านได้สร้างผลกระทบทาง ปัญญาความคิดอะไรบ้าง ข้อเขียนทางมานุษยวิทยาว่าด้วยพุทธศาสนาของอาจารย์คายส์เป็นผลผลิต ของความเพียรพยายามและตั้งใจแน่วแน่ทางวิชาการที่จะชี้ให้เห็นว่า พุทธศาสนา นิกายเถรวาท โดยเฉพาะวิถีพุทธแบบชาวบ้านเป็นกุญแจดอกสำ คัญที่สุดที่จะนำ ไปสู่การวิเคราะห์สังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ พุทธศาสนาต่างหากที่สร้าง ชาติหลอมรวมเอาความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและท้องถิ่น ให้เป็น “พุทธอาณาจักร-รัฐประชาติสมัยใหม่” “ชาติไทย” อาจมีศูนย์กลางและ พัฒนาการที่แนบแน่นอยู่กับสถาบันกษัตริย์ แต่พุทธศาสนาต่างหากที่เป็นอุดมการณ์ความเชื่อและพิธีกรรมหลักในการสร้างชาติและสร้างความชอบธรรมให้ กับชนชั้นนำ ในข้อเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาของท่าน อาจารย์คายส์ได้นำ เสนอ ประเด็นวิเคราะห์เชิงมานุษยวิทยาครอบคลุมความเป็นอนิจจังของพุทธไทยทั้ง ลักษณะสำ คัญ ได้แก่ สิ่งตกทอดผูกพันมาจากอดีต พุทธศาสนาในท่ามกลาง กระบวนการสร้างชาติและกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะความทันสมัย และ พุทธศาสนาในภาวะที่แตกตัวออกเป็นเศษเสี่ยง ซึ่งเป็นผลผลิตโลกยุคหลังสมัย ใหม่ วิธีวิทยาของอาจารย์คายส์ในการวิเคราะห์ตีความหมายพุทธศาสนาในฐานะ ตัวบทสำคัญในกระบวนการทำ งานของวัฒนธรรม ซึ่งได้มอบทั้งโลกทัศน์และ วิถีปฏิบัติให้กับผู้คนและสังคมนั้น มีรากฐานสำ คัญมาจากกระบวนการที่แม็กซ์ เวเบอร์เรียกว่า “กระบวนการใช้เหตุผล” (rationalization) และ “กระบวนการทาง พุทธิปัญญา” (intellectualization) รวมทั้งแนวการวิเคราะห์ตีความหมายมานุษย-วิทยา
Description: วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ
URI: http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/74700%201446189528.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64835
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.