Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีระวัฒน์ วิชัยขัทคะen_US
dc.contributor.authorอรรถพล สมุทคุปติ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:20Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:20Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/17_3/1Teerawat.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64688-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติ และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็งที่ใช้กรรมวิธีระเบิดเยื่อ ด้วยไอน้ำจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศ การศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการคัดเลือกวัตถุดิบโดย วิเคราะห์ด้วยเทคนิคลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) พบว่า ข้าว เป็นทางเลือกที่เหมาะสม และมีศักยภาพมากที่สุด สำหรับ การนำวัสดุเหลือใช้ภาคการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็ง การศึกษาส่วนที่สอง เป็นการผลิตแผ่นใยไม้ อัดแข็งที่ใช้วัตถุดิบที่ได้รับคัดเลือกในขั้นตอนแรก ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้ คือ ฟางข้าว มาผลิตผ่านกรรมวิธีระเบิดเยื่อด้วยไอน้ำ โดยใช้การระเบิดที่ระดับความดัน 2.0 MPa และ 2.4 MPa ชิ้นทดสอบที่ได้มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1.19 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร การทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม 180-2532 พบว่าแผ่นใยไม้อัดแข็งจากการระเบิดเยื่อระดับ ความดัน 2.4 MPa ให้คุณสมบัติดีที่สุด โดยมีค่าความแข็งแรงดัดเท่ากับ 32.733 MPa มอดูลัสยืดหยุ่นเท่ากับ 13,097.83 MPa การดูดซึมน้ำเท่ากับ 37.37% และการพองตัวเมื่อแช่น้ำเท่ากับ 26.02% ด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการ วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการประเมินตลอดวัฏจักร (LCA) พบว่ามีค่าผลกระทบรวมเท่ากับ 2.5726E-03 Pt ซึ่งเปรียบเทียบบน ฐานข้อมูล EDIP, LCA Food พบว่ามีค่าผลกระทบสูงกว่าผลิตภัณฑ์ประเภท Fiberboard เล็กน้อย การวิเคราะห์ตาม กระบวนการผลิตพบว่า กระบวนการอัดร้อนเป็นกระบวนการที่เกิดผลกระทบมากที่สุด ซึ่งมีสัดส่วนที่ร้อยละ 54.02 ของ ผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์แยกผลกระทบตามประเภทมลพิษ พบว่ามลพิษที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ มลพิษในดิน ที่ส่งผลต่อมนุษย์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.56 ของมลพิษทั้งหมดที่เกิดขึ้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วย กระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำen_US
dc.title.alternativeHardboard Production from Agricultural Residues by Steam Explosion Processen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume17en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.