Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorถิรายุ ปิ่นทองen_US
dc.contributor.authorวงกต วงศ์อภัยen_US
dc.contributor.authorณัฐนี วรยศen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.issn0857-2185en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/16_3/6.%20Thirayu.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64672-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาการคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายและการจัดหาพลังงานไฟฟ้ารวมถึง การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของภาคการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย โดยคาดการณ์ความต้องการใช้ พลังงานในแต่ละภาคเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบต่อการจัดหาพลังงานของประเทศ โดยใช้ แบบจำลอง Model for Analysis of Energy Demand (MAED) และแบบจำลอง Model for Energy Supply Strategy Alternatives and their General Environmental Impacts (MESSAGE) ใช้ฐานข้อมูลปี ค.ศ. 2005 และแบ่งกรณีศึกษาการใช้ พลังงานขั้นสุดท้ายได้ 3 กรณี คือ (1) Business-as-usual (BAU) (2) Energy efficiency (EE) (3) Electricity generation from electricity demand in transport sector (ELEC) และแบ่งกรณีศึกษาการจัดหาพลังงานไฟฟ้าได้ 2 กรณี คือ (1) Business-as-usual (BAU Scenario) (2) Nuclear Scenario (NC Scenario) รวมถึงประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการผลิต ไฟฟ้าของประเทศไทย จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า การใช้พลังงานกรณี BAU ในช่วงปี ค.ศ. 2005-2030 พบว่าประเทศ ไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจาก 61,353 ktoe ในปี ค.ศ. 2005 เป็น 164,217 ktoe ในปี ค.ศ.2030 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ต่อปี ภาคขนส่งมีการใช้พลังงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.77% ในปี ค.ศ. 2030 ตามด้วยภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง เหมืองแร่ คิดเป็นร้อยละ 37.72% , 11.85%,7.61% และ 6.79% ของการใช้ พลังงานทั้งประเทศ ตามลำดับ กรณี EE คือ การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์และเครื่องมือด้านพลังงาน เพิ่มขึ้น 10 % พบว่า ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจาก 22,641 ktoe ในปี ค.ศ. 2005 เป็น 53,944 ktoe ในปี ค.ศ.2030 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 ต่อปี ได้ กรณี ELEC ซึ่งคือการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคขนส่ง ตามแผนการสร้าง รถไฟไฟฟ้าของประเทศไทยและการเพิ่มขึ้นของรถระบบไฮบริดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ปีละ 5% จากการศึกษาพบว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 5 ktoe ในปี ค.ศ. 2005 เป็น 103 ktoe ในปี ค.ศ.2030 เชื้อเพลิงที่ใช้ในมอเตอร์มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจาก 26,589 ktoe ในปี ค.ศ. 2005 เป็น 75,174 ktoe ในปี ค.ศ.2030 อัตราการเพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงที่ใช้ในมอเตอร์คิดเป็น 2.2% ต่อปี และการจัดหาพลังงานไฟฟ้ารวมของประเทศไทย กรณี BAU Scenarioในช่วงปี ค.ศ. 2005-2030 พบว่าการจัดหาพลังงานไฟฟ้าภายใต้เงื่อนไขแผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ไทยเพิ่มขึ้นจาก การผลิตไฟฟ้ารวมจากทุกโรงไฟฟ้า มีค่า 15,525.37 MWyr ในปี ค.ศ.2005 และได้มีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น39,497.92 MWyr ในปีค.ศ.2030 อัตราการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้ารวมแต่ละโรงไฟฟ้า คิดเป็น 6.43 % ต่อปี กรณี NC Scenario เมื่อนำ BAU Scenario เป็นฐานในการเปรียบเทียบกับ NC Scenario ซึ่งจะเห็นได้ว่า NC Scenario สามารถทำ ให้สัดส่วนในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมลดลงถึง 1.43% ในปี ค.ศ. 2030โรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดลงถึง 1.91% และโรงไฟฟ้าน้ำมันเตาลดลงถึง 1.43% ในปี ค.ศ. 2030 และการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการผลิตไฟฟ้ารวมจากทุกโรงไฟฟ้า มีค่า 76,308.21 kgTons-CO2 ในปี ค.ศ.2005 และได้มีการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 186,123.25 kgTons-CO2 ในปีค.ศ.2030 อัตราการเพิ่มขึ้นของการเกิดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้เงื่อนไขแผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยรวมแต่ละโรงไฟฟ้า คิดเป็น 5.99 % ต่อปี กรณี NC Scenario เมื่อนำ BAU Scenario เป็นฐานในการเปรียบเทียบกับ NC Scenario ซึ่งจะเห็นได้ว่า NC Scenario สามารถทำ ให้ผลรวมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการผลิตไฟฟ้าลดลง เมื่อมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 10989.62 kgTons-co2 คิดเป็น 5.91%ในปี ค.ศ. 2030en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้เงื่อนไข แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Carbon Dioxide Emission Under Electricity Generation Scenarios of Thailanden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume16en_US
article.stream.affiliationsDepartment of Mechanical Engineering, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Mechanical Engineering, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Mechanical Engineering, Chiang Mai Universityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.