Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิลวรรณ ไชยทนุen_US
dc.contributor.authorพฤกษ์ อักกะรังสีen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.issn0857-2185en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/16_3/7.%20Ninlawan.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64667-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทดสอบศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากมูลสุกรโดยใช้กระบวนการ หมักย่อยแบบไร้อากาศในถังหมักย่อยแบบกวนต่อเนื่อง (Completely Stirred Tank Reactor) ในช่วงอุณหภูมิสูง (Thermophilic ที่ 55±2 OC) โดยทำการออกแบบและจัดสร้างระบบต้นแบบ ขนาด 1 m3 ใช้กรรมวิธีการเติมน้ำเสียแบบครั้ง คราว (Batch Feeding) เพื่อนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบอุณหภูมิปกติและไม่มีการกวน ซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไป โดยควบคุมน้ำเสียตั้งต้นให้มีสัดส่วนปริมาณของแข็งทั้งหมด (TS) ที่ 2% โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นค่าประมาณ ของน้ำเสียในฟาร์มสุกรในประเทศไทย โดยในการทดลองเปลี่ยนระยะเวลาเก็บกักน้ำเสีย (HRT) ระหว่าง 4 ถึง 6 วัน ในขณะที่ค่าสำหรับการออกแบบระบบก๊าซชีวภาพแบบอื่น ๆ ที่มีการกวนผสม และทำงานในช่วงอุณหภูมิต่ำ (Mesophilic 25-35 OC) จำเป็นต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 6 วันสำหรับประเทศไทย จากนั้นทำการตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพ ค่า COD pH VFA และสัดส่วนก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพ ผลการทดลองพบว่า ระบบใช้ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียเพียง 4 วัน มีประสิทธิภาพใน การบำบัดของเสียถึง 84% ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 4.8 กก.สารอินทรีย์/ม3-วัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 1006 ลิตร/วัน โดยมีสัดส่วนก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพเฉลี่ย 65.6% ผลการทดลองสรุปได้ว่า ระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบ กวนต่อเนื่องในช่วงอุณหภูมิสูงมีประสิทธิภาพในการหมักย่อยสูงกว่าระบบก๊าซชีวภาพแบบอื่น แต่หากนำมาใช้ในการ บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกรซึ่งมีอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่ำจะไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ สมควรนำไปใช้กับของเสีย ที่มีความเข้มข้นของชีวมวลสูงen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและเศรษฐศาสตร์ของการใช้ระบบหมัก ไร้อากาศแบบถังกวนต่อเนื่องในสภาวะเทอร์โมฟิลิกen_US
dc.title.alternativeEfficiency and Economic Analysis of Thermophilic CSTR Anaerobic Digester in Treating Swine Wastewateren_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume16en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.