Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรพจน์ เสรีรัฐen_US
dc.contributor.authorชนกานต์ วุฒิวรคุปต์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:18Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:18Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.issn0857-2185en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/16_2/6Chanakarn.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64663-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractกระบวนการชุบเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าเป็นกระบวนการทางปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญต่อการผลิตทีนัตเป็นอย่างมาก ปัจจุบันนี้พบว่าในกระบวนการชุบยังขาดการควบคุมที่ดีเนื่องจากยังไม่มีการสร้างวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำให้เกิด ข้อบกพร่องของทีนัตเป็นจำนวนมากโดยปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้แก่ ชิ้นงานเป็นรอย เป็นคราบ มัว ชุบติดไม่ทั่ว ไหม้ ลอกง่าย เป็นผื่นเม็ด ๆ และเกลียวดำ ซึ่งข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นทำให้ต้องนำงานกลับไปซ่อมใหม่ ทำให้เสียทรัพยากรโดยไม่ จำเป็นทั้งเวลา วัตถุดิบและแรงงาน จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นศึกษาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของข้อบกพร่องที่ เกิดขึ้นและปรับปรุงกระบวนการชุบสังกะสีเพื่อให้มีการควบคุมที่ดีและมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน โดยมีการศึกษาวิจัยที่ โรงงานชุบสังกะสีแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาพบว่าปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากขาดการ ตรวจสอบในกระบวนการผลิต วิธีการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม ไม่มีมาตรฐานในการทำงาน เป็นต้น จากนั้นผู้วิจัยจึงทำการ ปรับปรุงโดยกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสม สร้างระบบการทำงานใหม่ให้มีการควบคุมการปฏิบัติงานโดยกำหนดเป็น มาตรฐานการทำงาน ในรูปแบบของเอกสารอย่างชัดเจน มีการจัดทำคู่มือน้ำยาชุบโลหะ จัดทำใบตรวจสอบน้ำยาชุบ จัดทำ แผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและกำหนดวิธีการตรวจสอบน้ำยาชุบโลหะและน้ำล้างในกระบวนการผลิต หลังจากได้นำเอา วิธีการปรับปรุงต่าง ๆ มาใช้ในโรงงานพบว่ากระบวนการชุบมีวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานขึ้นและมีการควบคุมที่ดีทำให้ ปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมีจำนวนลดลงจาก 8.96% เป็น 3.19%en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการปรับปรุงกระบวนการชุบเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าบนทีนัต โดยใช้เทคนิควิศวกรรมคุณภาพen_US
dc.title.alternativeThe improvement of Zinc Electro-Coating Process on T-Nut Using Quality Engineering Techniques.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume16en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.