Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรรถพล สมุทคุปติ์en_US
dc.contributor.authorสิทธินันท์ ทองศิริen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:17Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:17Z-
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/23/5%CA%D4%B7%B8%D4%B9%D1%B9%B7%EC.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64638-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาระบบบํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานกับระบบบํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลัง เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทํางานของเจ้าหน้าที่ ลดอัตราการซ่อมบํารุงรักษาของคอมพิวเตอร์ และวางแผนการสั่งซื้อพัสดุและอุปกรณ์ ที่เหมาะสมของแผนกคอมพิวเตอร์ และไอที ในโรงไฟฟ้าพลังน้ําภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก เป็นกรณีศึกษา ซึ่งได้เข้าไปสอบถาม ข้อมูล และสัมภาษณ์เชิงลึกจากหัวหน้าและเจ้าหน้าที่ประจําแผนกคอมพิวเตอร์ และไอที พบว่าปัญหาคือ 1) ปัญหาด้านระบบ บํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลัง 2) ปัญหาด้านการวางแผนการบํารุงรักษา และแผนการสั่งซื้อพัสดุและอุปกรณ์ 3) ปัญหาด้านการจัดเก็บข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ ประวัติการซ่อมบํารุงรักษา และข้อมูลพัสดุของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเนื่องจาก ปัจจุบันได้มีการนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผู้ทํางานวิจัยจึงได้ประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาใช้งานกับระบบบํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลพัสดุและอุปกรณ์ ประวัติการซ่อมบํารุงรักษา และประวัติการใช้ งานพัสดุและอุปกรณ์ 2) ส่วนของการนําเอาข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาใช้ คือ การวางแผนการบํารุงรักษา แผนการสั่งซื้อพัสดุและ อุปกรณ์ เป็นต้น แล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบบํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากผลการคํานวณหาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์จากตัวอย่างจํานวน 5 เครื่องได้แก่คอมพิวเตอร์รหัส E8127, E9853, EB471, L2568 และ L1248 นั้น หลังจากมีการพัฒนาระบบบํารุงรักษา และสารสนเทศเพื่อการบํารุงรักษาแล้ว พบว่า ระบบบํารุงรักษามีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นซึ่งดูได้จากค่าระยะห่างเฉลี่ยของเวลาในการแจ้งซ่อมบํารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ MTBF ที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16%, 24.97%, 87.52%, 212.5% และ118.75% ตามลําดับ ค่าระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมเฉลี่ยแต่ละครั้ง MTTR ลดลงร้อยละ 96.06%, 85.71%, 88.67%, 73.68% และ 79.16% ตามลําดับ และค่าความพร้อมใช้งานของคอมพิวเตอร์ (Availability) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 11.88%, 3.62%, 19.20%, 6.74% และ 7.36% ตามลําดับ ส่วนระบบการจัดการพัสดุคง คลัง และสารสนเทศเพื่อการจัดการพัสดุคงคลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หลังจากการพัฒนาระบบแล้วทําให้สามารถวางแผน ในการจัดซื้อพัสดุและอุปกรณ์ในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งจํานวนการสั่งซื้อตลอดทั้งปี และระยะเวลาระหว่างการสั่งซื้อแต่ละ ครั้งที่เหมาะสมด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการพัฒนาระบบบํารุงรักษา และระบบการจัดการพัสดุคงคลัง ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำภูมิพลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Maintenance System and Inventory Management System of Computers in Bhumibol Hydro Powerplanten_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume15en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าพลังน้ําภูมิพล จังหวัดตากen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.