Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64627
Title: การอัดตัวระบายน้ำคำนึงถึงความเครียดมากของชั้นดินภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มทีละน้อย
Other Titles: Large-Strain Consolidation of Soil Layer Under Gradually Applied Load
Authors: กฤษณพงค ฟองสินธุ์
สุเทพ นิ่มนวล
Authors: กฤษณพงค ฟองสินธุ์
สุเทพ นิ่มนวล
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์ความดันน้ำส่วนเกินสำหรัเปอร์เซ็นต์ความเครียดตอนสิ้นสุดการอัดตัวระบายน้ำเท่ากับ 0% , 10% , 20% , 50% เนื่องจากการอัดตัวระบายน้ำมิติเดียวของชั้นดินเหนียวเอกพันธุ์ ที่มีความหนาจำกัด อิ่มตัวและไร้น้ำหนัก ภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดแล้วคงตัว น้ำระบายออกจากผิวบนได้แต่ระบายออกจากผิวล่างไม่ได้ ชั้นดินเป็นดินอัดตัวปกติ มีอัตราส่วนดัชนีการซึมได้ต่อดัชนีการอัดตัวของดินเท่ากับ 0.5 , 1 , 2 และอัตราส่วนความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนสิ้นสุดการอัดตัวระบายน้ำต่อความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนเริ่มต้นเท่ากับ 1.1, 1.5, 2, 3 น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดที่ตัวประกอบเวลาที่เวลาสิ้นสุดการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเชิงเส้นเท่ากับ 0.005 , 0.01 , 0.02 , 0.03 , 0.04 , 0.05 , 0.06 , 0.07 , 0.08 ,0.09 , 0.1, 0.2 , 0.3 , 0.4 , 0.5 , 0.6 , 0.7 , 0.8 , 0.9 , 1 , 2 แล้วคงตัว วิเคราะห์โดยระเบียบวิธีผลต่างอันตะคิดการอัดตัวระบายน้ำตามทฤษฎีของ Mesri and Rokhsarผลการวิเคราะห์พบว่าเมื่อเปอร์เซ็นต์ความเครียดมีค่ามากขึ้น เปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ยมีค่ามากขึ้น แต่เปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินที่ผิวชั้นน้ำระบายออกไม่ได้มีค่าลดลง เปอร์เซ็นต์ความเครียดไม่เกิน 20% ถือได้ว่าเป็นความเครียดน้อย สามารถใช้ทฤษฎีการอัดตัวระบายน้ำมิติเดียวของ Mesri and Rokhsar ไม่คิดการอัดตัวคืบคลานภายใต้ความเครียดน้อยหาเปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินได้การอัดตัวระบายน้ำภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดที่ตัวประกอบเวลาที่เวลาสิ้นสุดการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเชิงเส้นเท่ากับ 0.005 แล้วคงตัวเสมือนกับว่าเป็นการอัดตัวระบายน้ำภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มฉับพลันแล้วคงตัวทันทีได้ เมื่อตัวประกอบเวลาที่เวลาสิ้นสุดการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเชิงเส้นทีละน้อยมีค่าน้อยลงเปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินที่ผิวชั้นน้ำระบายออกไม่ได้มีค่ามากขึ้น เปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินเพิ่มขึ้นถึงยอดสูงสุดแล้วกลับมีค่าลดลงภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดที่ตัวประกอบเวลาที่เวลาสิ้นสุดการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเชิงเส้นตั้งแต่ 1 ขึ้นไป เปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินลดลงหลังจากที่น้ำหนักบรรทุกมีค่าคงตัวภายใต้น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดแล้วคงตัวสำหรับเปอร์เซ็นต์ความเครียดเท่ากับ 0% ,10% , 20% , 50% พบว่าเปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ยมีค่ามากขึ้นแต่เปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินมีค่าลดลงเมื่ออัตราส่วนความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนสิ้นสุดการอัดตัวระบายน้ำต่อความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนเริ่มต้นเพิ่มขึ้นถ้าอัตราส่วนดัชนีการซึมได้ต่อดัชนีการอัดตัวได้ของดินเท่ากับ 2 และให้ผลตรงกันข้ามถ้าอัตราส่วนดัชนีการซึมได้ต่อดัชนีการอัดตัวได้ของดินเท่ากับ 0.5 ในขณะที่อัตราส่วนดัชนีการซึมได้ต่อดัชนีการอัดตัวได้ของดินเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์อัตราส่วนความดันน้ำส่วนเกินมีค่ามากขึ้นตามอัตราส่วนความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนสิ้นสุดการอัดตัวระบายน้ำต่อความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนเริ่มต้นยกเว้นกรณีน้ำหนักบรรทุกเพิ่มเชิงเส้นทีละน้อยจนถึงค่าสูงสุดที่ตัวประกอบเวลาที่เวลาสิ้นสุดการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเชิงเส้นเท่ากับ 0.005 เปอร์เซ็นต์การอัดตัวระบายน้ำเฉลี่ยถือว่าไม่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนสิ้นสุดการอัดตัวระบายน้ำต่อความเค้นกดอัดประสิทธิผลตอนเริ่มต้นได้
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/22/5%A1%C4%C9%B3%BE%A7%A4.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64627
ISSN: 0857-2178
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.