Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พานิช อินต๊ะ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐวุฒิ ดุษฎี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:16Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:16Z | - |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-2178 | en_US |
dc.identifier.uri | http://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/22/3%BE%D2%B9%D4%AA.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64625 | - |
dc.description | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี | en_US |
dc.description.abstract | ในบทความวิจัยนี้จะทำการศึกษาคุณลักษณะทางไฟฟ้าสถิตของเครื่องตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตแบบทรงกระบอกซ้อนแกนร่วมสำหรับการกำจัดอนุภาคที่ปล่อยออกจากเตาเผาชีวมวล เครื่องตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดอนุภาคจากกระแสการไหลของแก๊สที่มีขนาดอยู่ในช่วง 0.01 – 1,000 ไมโครเมตร โดยอาศัยวิธีการทางไฟฟ้า ซึ่งเครื่องตกตะกอนแบบนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ดิสชาร์จอิเล็กโทรดและขั้วตกตะกอน ดิสชาร์จอิเล็กโทรดจะถูกจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในขณะที่ขั้วตกตะกอนมีศักย์เป็นกราวด์ จะทำให้เกิดโคโรนาดิสชาร์จขึ้นบริเวณรอบๆ ดิสชาร์จอิเล็กโทรด และเกิดการไหลของกระแสไอออนผ่านช่องว่างระหว่างดิสชาร์จอิเล็กโทรดกับขั้วตกตะกอน เมื่อแก๊สที่มีอนุภาคแขวนลอยอยู่ไหลผ่านเข้ามาในช่องว่างนี้จะทำให้อนุภาคได้รับประจุและถูกทำให้เคลื่อนที่ไปตกสะสมตัวอยู่บนขั้วตกตะกอน โดยตัวแปรที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการตกตะกอนของอนุภาคคือ ลักษณะของกระแสและแรงดัน ความเข้มข้นจำนวนไอออน และระดับการอัดประจุของอนุภาค ในการศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์หาลักษณะของกระแสและแรงดัน ระดับการอัดประจุ ระยะการเคลื่อนที่ และประสิทธิภาพการตกตะกอนของอนุภาคที่มีขนาดอยู่ในช่วง 10 นาโนเมตร ถึง 100 ไมโครเมตร โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าอนุภาคที่มีขนาดมากกว่า 1 ไมโครเมตร มีประสิทธิภาพการตกตะกอนเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 99.34 เปอร์เซ็นต์ และประสิทธิภาพจะลดลงมาประมาณ 47.08 เปอร์เซ็นต์ ที่ขนาดเล็กว่า 1ไมโครเมตร ที่แรงดันไฟฟ้า 100 กิโลโวลต์ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบเทคนิคการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตมีศักยภาพสูงเหมาะสำหรับนำมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดอนุภาคที่ปล่อยออกจากเตาเผาชีวมวล. | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.title | คุณลักษณะทางไฟฟ้าสถิตของเครื่องตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตแบบทรงกระบอกซ้อนแกนร่วมสำหรับการกำจัดอนุภาคที่ปล่อยออกจากเตาเผาชีวมวล | en_US |
dc.title.alternative | CHARACTERISATION OF WIRE-CYLINDER ELECTROSTATIC PRECIPITATOR FOR EXHAUST GAS PARTICLES REMOVAL OF BIOMASS FURNACE | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
article.volume | 14 | en_US |
article.stream.affiliations | ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.