Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวัสสนัย วรรธนัจฉริยาen_US
dc.contributor.authorรัตติกาล กองบุญen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/23/9%C3%D1%B5%B5%D4%A1%D2%C5.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64621-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment: QFD) ในการวิเคราะห์แนวทางการวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton exchange membrane: PEM) สำหรับยานพาหนะเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer needs) และสามารถผลิตเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยได้ เริ่มแรกรวบรวมความต้องการของลูกค้า พบว่า ความต้องการที่ลูกค้าให้ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความสำคัญ (Important rating: IMP) มากที่สุด คือ ความปลอดภัย มีค่าคะแนน 4.65 รองลงมาคือ ควาทนทานและอายุการใช้งาน มีค่าคะแนนเท่ากันคือ 4.64 อันดับที่ 3 ราคายานพาหนะ มีค่าคะแนน 4.36 จากนั้นแปลงความต้องการของลูกค้าให้เป็นคุณลักษณะทางวิศวกรรมใน QFD เมตริกที่ 1 หรือเรียกว่า บ้านแห่งคุณภาพ (House of Quality: HOQ) ทำให้ทราบถึงข้อกำหนดทางเทคนิคที่สำคัญในการออกแบบเซลล์เชื้อเพลิง PEM สำหรับยานพาหนะซึ่งข้อกำหนดทางเทคนิคที่สำคัญ 3 อันดับที่ได้จากบ้านแห่งคุณภาพ คือ วัสดุที่ใช้ในการผลิต มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ15.33 อันดับสองได้แก่ การออกแบบระบบ มีน้ำหนักคะแนน ร้อยละ 11.11 อันดับที่ 3 คือ จำนวนชิ้นส่วน มีน้ำหนักคะแนนร้อยละ 9.77 จากข้อกำหนดทางเทคนิคในบ้านแห่งคุณภาพนำไปสู่ QFD เมตริกที่ 2 คือการแปลงการออกแบบ (Design deployment) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดคุณลักษณะทางวิศวกรรมให้เป็นคุณลักษณะของชิ้นส่วน (Part characteristics) พบว่า การออกแบบกระบวนการประกอบและการทดสอบหอเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell stack) มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ 19.08% อันดับสองคือ การพัฒนาไบโพลาร์เพลต (Bipolar plate) มีค่า 15.37% อันดับที่สาม คือ การพัฒนาชุดประกอบ เมมเบรนอิเล็กโทรด (Membrane electrode assembly: MEA) มีค่า 14.86% จากการศึกษา QFD พบว่า บุคคลทั่วไปและบริษัทผู้ผลิตรถยนต์มีผลการวิเคราะห์ QFD ที่สอดคล้องกัน คือ การออกแบบกระบวนการประกอบและการทดสอบหอเซลล์เชื้อเพลิง PEM มีความสำคัญมากที่สุด คือ ต้องวิจัยและพัฒนาให้ได้รูปแบบการผลิตหอเซลล์เชื้อเพลิงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและผลิตให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถผลิตหอเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อการพาณิชย์ จากนั้นจึงวิจัยและพัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของหอเซลล์เชื้อเพลิง PEM ต่อไปจากการประเมินศักยภาพการผลิต พบว่า ประเทศไทยมีความเป็นไปได้ทางการตลาด แนวโน้มความต้องการการใช้ยานพาหนะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค เพราะการวิจัยและพัฒนาของไทยยังเป็นช่วงเริ่มต้น ทำให้ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางด้านเทคนิคจึงเป็นการลองผิดลองถูก เพื่อให้ได้เทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการผลิตในประเทศไทย ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ทางเศรษฐศาสตร์จึงยังไม่มีความเป็นไปได้เช่นกัน เซลล์เชื้อเพลิงเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ที่ยังอยู่ในขั้นของการวิจัยและพัฒนา ปัจจุบันงานวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงของประเทศไทยนั้นยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆด้วยเหตุนี้การกำหนดแนวทางในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะจัดสรรงบประมาณซึ่งควรเน้นเฉพาะส่วนที่ประเทศไทยมีศักยภาพสามารถพัฒนาได้ ดังนั้นภาครัฐต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อให้สามารถผลิตเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะภายในประเทศไทยได้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมากen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการประเมินศักยภาพการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อการพาณิชย์ ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEvaluation of Fuel Cell Production Potential for Commercialization in Thailanden_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume14en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.