Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64610
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงค์กฤษณ์ วงค์สุวรรณ์en_US
dc.contributor.authorณัฐ วรยศen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/23/1%BE%A7%C9%EC%A1%C4%C9%B3%EC.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64610-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractพลังงานศักย์จากการไหลของแม่น้ำและฝายน้ำต่ำจำนวนมาก (ความสูงหัวน้ำต่ำกว่า 10 m) สูญเสียไปกับการไหลโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ การใช้กังหันน้ำเฮดต่ำเพื่อเปลี่ยนพลังงานข้างต้นยังมีราคาแพง และไม่คุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ การใช้เทคนิคกาลักน้ำเหนี่ยวนำเอากระแสอากาศเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องกลที่เปลี่ยนรูปพลังงานศักย์ของน้ำมาเป็นพลังงานจลน์ของอากาศ โดยใส่ท่อลมตรงด้านบนทางขาออกของท่อกาลักน้ำ เมื่อกาลักน้ำทำงานความเร็วของน้ำที่ไหลตามท่อกาลักน้ำทำให้เกิดแรงเฉือนขึ้นตรงผิวสัมผัสระหว่างนํ้ากับอากาศ ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำเอากระแสอากาศได้ งานวิจัยนี้ต้องการหาสมรรถนะของกาลักน้ำ โดยพิจารณาตัวแปรที่มีผลต่ออัตราการไหลของอากาศที่ถูกเหนี่ยวนำเข้าไปในท่อกาลักน้ำ ได้แก่ ขนาดของท่อลม และ ความลึกของท่อลม เพื่อให้ได้ความสัมพันธ์อัตราการไหลของอากาศกับสัดส่วนท่อชุดทดลองระบบกาลักน้ำได้ถูกสร้างและถูกทดสอบที่ความสูงหัวน้ำประมาณ 1.2 mโดยใช้ท่อกาลักน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 43 mm ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลมมี 5 ขนาดอยู่ในช่วง 10 – 30 mm และความลึกของท่อลมที่จะสอดลงไปมี 5 ระยะอยู่ในช่วง 10 – 30 cm จากผลการทดลองพบว่า ที่ระดับความลึกของท่อลมเดียวกัน อัตราการไหลของอากาศจะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลมเพิ่มขึ้น ส่วนที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลมเดียวกัน อัตราการไหลของอากาศจะมีค่ามากขึ้นและลดลงแบบพาราโบลาคว่ำตามความลึกของท่อลม และกำลังที่ได้ออกมาจากระบบมากที่สุดนั้นประสิทธิภาพของระบบกาลักน้ำควรอยู่ในช่วง 55-65 %en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleสมรรถนะของระบบกาลักน้ำในการเหนี่ยวนำกระแสอากาศen_US
dc.title.alternativePerformance of Water Siphon System in Inducing Air Streamen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume14en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.