Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64585
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐภูมิ พงษ์เย็นen_US
dc.contributor.authorธานัท วรุณกูลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.issued2014en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68322/55639en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64585-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractบทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน โดยนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเพื่อเรียงลำดับปัจจัยที่ควรปรับปรุงก่อนและหลังตามเกณฑ์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานอาคาร โดยจะแบ่งปัจจัยออกเป็นกลุ่มตามประเภทของสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยทางด้านบรรยากาศโดยรอบ ปัจจัยทางด้านอาคาร ปัจจัยทางด้านการตกแต่งภายใน และ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร โดยปัจจัยด้านบรรยากาศโดยรอบสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. กลิ่น (มีค่าความสำคัญ 0.278 หรือ 27.8%), 2. คุณภาพอากาศ (0.204 หรือ 20.4%), 3. ระดับเสียง (0.185 หรือ 18.5%), 4. แสงสว่าง (0.167 หรือ 16.7%), 5. อุณหภูมิ (0.165 หรือ 16.5%) ปัจจัยทางด้านอาคารสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบห้องน้ำ (มีค่าความสำคัญ 0.383 หรือ 38.3%), 2. ทางเข้าออก (0.172 หรือ 17.2%), 3. วัสดุพื้น (0.172 หรือ 17.2%), 4. การจัดผัง (0.155 หรือ 15.5%), 5. หน้าต่าง (0.146 หรือ 14.6%) ปัจจัยทางด้านการตกแต่งภายในสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. ป้ายบอกทาง (มีค่าความสำคัญ 0.329 หรือ 32.9%), 2. เครื่องเรือน (0.216 หรือ 21.6%), 3. ธรรมชาติ (0.201 หรือ 20.1%), 4. โทรทัศน์ (0.144 หรือ 14.4%), 5. สี (0.110 หรือ 11.0%) ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. ที่จอดรถ (มีค่าความสำคัญ 0.250 หรือ 25.0%), 2. ที่นั่งพัก (0.231 หรือ 23.1%), 3. ส่วนให้บริการพิเศษ (0.219 หรือ 21.9%), 4. ทัศนียภาพรอบอาคาร (0.148 หรือ 14.8%), 5. ส่วนต่อเติมอาคาร (0.104 หรือ 10.4%) ทั้งนี้จากลำดับค่าความสำคัญดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ควรเลือกปรับปรุงก่อนคือปัจจัยที่เป็นปัญหาที่พบในโรงพยาบาลและส่งผลต่อความรู้สึกในด้านลบก่อนเนื่องจากส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานอาคารมากที่สุด เช่น การปรับปรุงเรื่องกลิ่นเหม็น ป้ายบอกทางที่สับสน แล้วจึงเลือกปรับปรุงปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้งานโดยตรงกับผู้ใช้บริการ เช่น การเลือกและการจัดเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับการใช้งาน และปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกในด้านบวกเป็นลำดับสุดท้าย เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมด้วยต้นไม้และน้ำพุ การเปลี่ยนสีอาคารให้ดูใหม่ เป็นต้นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleแนวทางการปรับปรุงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาลชมุชนเพอื่เพมิ่ความพงึพอใจen_US
dc.title.alternativeDesign guidelines for improving outpatient building of a community hospital in order to increase satisfactionen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume1en_US
article.stream.affiliationsสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.