Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64566
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จุฑามาศ เมรสนัด | en_US |
dc.contributor.author | วนิดา สืบสายพรหม | en_US |
dc.contributor.author | ทศพล พรพรหม | en_US |
dc.contributor.author | จำเนียร ชมภู | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00140_C01104.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64566 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การนำวัชพืชมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อเป็นยาสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการควบคุมวัชพืช และเป็นการเพิ่มมูลค่า การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารพฤกษเคมีและทดสอบประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบของวัชพืช จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ก้นจ้ำขาว กะเม็ง เขมรเล็ก โคกกระสุน ตาลปัตรฤษี ผักโขมหนาม ผักละออง ผักเสี้ยนผี และลูกใต้ใบ โดยนำส่วนของใบวัชพืชอบให้แห้ง และบดละเอียด สกัดตัวอย่างวัชพืชด้วยน้ำเปรียบเทียบกับเอทานอล (80%) แล้ววิเคราะห์ปริมาณสารพฤกษเคมี ได้แก่ สารประกอบพวก phenolics และ flavonoids และทดสอบประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ด้วยปฏิกิริยา DPPH, ABTS, PMS-NADH และ nitric oxide radical scavengings ผลการทดลองพบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลจากวัชพืชทุกชนิดมีปริมาณของสารพฤกษเคมีพวก phenolics และ flavonoids มากกว่าสารสกัดด้วยน้ำ โดยที่สารสกัดด้วยเอทานอลจากเขมรเล็กและลูกใต้ใบมีปริมาณสารพฤกษเคมีทั้งสองชนิดนี้มากกว่าสารสกัดจากวัชพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลจากเขมรเล็กและลูกใต้ใบมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุอิสระจากปฏิกิริยา DPPH (IC50 เท่ากับ 58.69 และ 89.90 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) และ ABTS radical scavengings (IC50 เท่ากับ 96.63 และ 113.58 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) ได้สูงกว่าสารสกัดจากวัชพืชอื่น โดยที่สารสกัดด้วยเอทานอลจากเขมรเล็กสามารถยับยั้งปฏิกิริยา DPPH radical scavenging ได้ไม่แตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน tocoperol (IC50 เท่ากับ 51.65 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ส่วนประสิทธิภาพของสารสกัดจากวัชพืชทดสอบในการต้านอนุมูลอิสระจากปฏิกิริยา PMS-NADH และ nitric oxide radical scavenging นั้นมีผลการทดลองไม่เด่นชัดมากนัก อย่างไรก็ตามจะทำการศึกษาชนิดของสารพฤกษเคมีในสารสกัดจากเขมรเล็ก และลูกใต้ใบต่อไป | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากวัชพืชบางชนิด | en_US |
dc.title.alternative | Antioxidant Capacity of Some Weed Crude Extracts | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม 73140 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.