Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64565
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประทุมพร ยิ่งธงชัยen_US
dc.contributor.authorพรรัตน์ ศิริคำen_US
dc.contributor.authorสุรินทร์ นิลสำราญจิตen_US
dc.contributor.authorสุริยา ตาเที่ยงen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00140_C01103.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64565-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractเชียงดาเป็นผักพื้นบ้านที่พบในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมใช้ประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน จากการสำรวจในพื้นที่พบเชียงดามีอยู่สองกลุ่ม ได้แก่ ใบรีกว้างและใบรีแคบ ได้นำกิ่งปักชำอายุ 2 เดือน ปลูกรวบรวมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากปลูกในแปลงทดสอบนาน 6 เดือน จึงเก็บตัวอย่างใบระยะเพสลาดของตำแหน่งที่ 4 - 6 จากปลายยอดเพื่อนำมาศึกษาต่อไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric assay และกรดจิมนิมิก ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีอยู่ในใบด้วยวิธี HPLC จากใบเชียงดาทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของใบเชียงดาทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกันในเชิงปริมาณของโปรตีน ไขมัน และกากใย ยกเว้นปริมาณน้ำตาลของเชียงดาใบรีแคบพบได้มากกว่าในใบรีกว้าง ร้อยละ 4.68 ± 0.28 และ 6.70 ± 0.81 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และให้ค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกในใบรีแคบ (18.18 ± 0.04 mg GAE/g DW) และใบรีกว้าง (17.09 ± 0.77 mg GAE/g DW) มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ส่วนปริมาณกรดจิมนิมิกในใบเชียงดาพบในกลุ่มใบรีแคบ (2.50 ± 0.11 g/100g) และกลุ่มใบรีกว้าง (2.44 ± 0.02 g/100g) ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นใบเชียงดาทั้งสองกลุ่มมีปริมาณฟีนอลิกและกรดจิมนิมิกที่มีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เข้าสู่ภาวะปกติ จึงสามารถใช้เชียงดาทั้งสองกลุ่มพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในใบเชียงดาen_US
dc.title.alternativeComparison of Nutritional Value and Bioactive Compounds in Gymnema inodorum Decne. Leavesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
article.stream.affiliationsศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ 50220en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยัเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.