Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64557
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ถกลวรรณ ศิริสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | โสระยา ร่วมรังษี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00140_C01101.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64557 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาพฤติกรรมการออกดอกของแวนดามนุวดีและศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาของตาดอกทุก 2 สัปดาห์ เป็นเวลาหนึ่งปี ระหว่าง พ.ศ. 2555 ถึง 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงช่วงเวลาการสร้างและการพัฒนาของตาดอกหรือช่อดอกซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่าตาข้างที่เติบโตเต็มที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นตาดอกได้เกือบทุกช่วงของปีภายใต้สภาพความยาววัน 9-12 ชั่วโมง อุณหภูมิ 18-33 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 60-96% โดยเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดของตาข้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านสืบพันธุ์มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวขึ้นเป็นช่อดอก พร้อมกับสร้างใบอ่อนที่เจริญไปเป็นกาบรองดอกและสร้างดอกอ่อนที่ซอกของใบอ่อนบนแกนของช่อดอกแบบกระจะ ระยะนี้ช่อดอกอ่อนยืดยาวอย่างช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ จึงเจริญออกมาพ้นกาบใบที่หุ้มลำต้น หลังจากนั้นช่อดอกอ่อนมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาพัฒนาจนถึงดอกแรกบานประมาณ 12 สัปดาห์ ในช่วงเวลาเดียวกันอาจมีตาดอกพัฒนาขึ้นหลายตา แต่มีเพียง 1-2 ตา ที่สามารถพัฒนาจนกระทั่งดอกบานได้ ช่อดอกมีอายุการบานเฉลี่ย 2.8 สัปดาห์ ขณะดอกบานเต็มที่พบว่าเริ่มมีการพัฒนาของตาดอกรุ่นใหม่ซึ่งจะพัฒนาเป็นช่อดอกที่สมบูรณ์ต่อไป ซึ่งมีการพัฒนาถึงดอกบาน 3 ครั้งต่อปี โดยปัจจัยสภาพแวดล้อมในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนมีผลให้ตาดอกฝ่อและไม่มีตาดอกพัฒนาขึ้นในช่วงนี้ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การพัฒนาตาดอกของแวนดามนุวดีในรอบปี | en_US |
dc.title.alternative | Annual Flower Bud Development of Vanda Manuvadee | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยัเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 | en_US |
article.stream.affiliations | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 | en_US |
article.stream.affiliations | ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ 50220 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.