Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64528
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนราศิณี แก้วใหลมาen_US
dc.contributor.authorสุรพล เศรษฐบุตรen_US
dc.contributor.authorบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุลen_US
dc.contributor.authorประทานทิพย์ กระมลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01060.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64528-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ และทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อการทำเกษตรอินทรีย์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรในตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำนวน 368 ราย ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มที่ทำเกษตรอินทรีย์ 91 ราย และกลุ่มที่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์ 277 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวนตัวอย่าง 192 ราย จากประชากรทั้งหมด 368 ราย ทำการสุ่มโดยใช้วิธี proportional stratified sampling ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 47 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทำเกษตรอินทรีย์จำนวน 145 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่เชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) การได้รับการฝึกอบรม 2) ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ 3) ทัศนคติของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ 4) อายุของเกษตรกร 5) ขนาดของพื้นที่ผลิตพืช 6) จำนวนแรงงานที่ใช้ในการเกษตร และ 7) ระยะเวลาประกอบอาชีพการเกษตร ในด้านปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เกษตรกรมีความรู้น้อย การควบคุมศัตรูพืชทำได้ยาก แหล่งจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์มีจำกัด ต้องใช้เวลามากในการดูแลพืชที่ปลูก และไม่สามารถควบคุมหรือทำตามขั้นตอนการทำเกษตรอินทรีย์ได้ทั้งหมดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทาเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Farmers’ Adoption of Organic Agricultural Practices, Mae Ho Phra Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.