Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64514
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐดนัย สุเมธาโชติพงศ์en_US
dc.contributor.authorกรวรรณ ศรีงามen_US
dc.contributor.authorวีณัน บัณฑิตย์en_US
dc.contributor.authorณัฐา โพธาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00137_C01053.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64514-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractกล้วยไม้ช้าง (Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl.) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย และเป็นกล้วยไม้พื้นถิ่นของประเทศไทย โดยทั่วไปมี 4 สายพันธุ์ คือ ช้างเผือก (ดอกสีขาวล้วน) ช้างกระ (ดอกสีขาวมีจุดสีม่วงแดงกระจายบนกลีบดอก) ช้างพลาย (ดอกสีขาวมีแต้มหรือปื้นสีม่วงแดงกระจายบนกลีบดอก) และช้างแดง (ดอกสีม่วงแดงเข้ม) ปัจจุบันกล้วยไม้ช้างได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีสันใหม่ ๆ ออกมา เช่น ช้างส้ม (ดอกสีส้มอมชมพูอ่อน) และช้างชมพู (ดอกสีชมพูอมม่วงอ่อน) เป็นต้น จึงน่าจะมีการศึกษาองค์ประกอบของสารให้สีกลุ่มแอนโทไซยานินในดอกกล้วยไม้ช้าง การใช้เทคนิคเอชพีแอลซีเพื่อจาแนกสารให้สีในกลีบดอก และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ช้างโดยเทคนิคอาร์เอพีดีที่ใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 20 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ OPF01, OPF04, OPF05, OPF06, OPF09, OPF12 และ OPF14 สามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้ โดยไพรเมอร์ OPF01 และ OPF06 สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและจัดแบ่งกลุ่มสายพันธุ์กล้วยไม้ช้างออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะสีที่ปรากฏบนกลีบดอก สารให้สีที่เป็นองค์ประกอบของสีดอก และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ช้างเผือก ไม่ปรากฏสารให้สีกลุ่มแอนโทไซยานินในดอก กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ช้างกระและช้างพลาย มีพื้นสีขาวและมีจุดหรือแต้มสีม่วงแดง พบ pelargonidin-3-O-glucoside, peonidin-3-O-glucoside, delphinidin และ kuromanin เป็นองค์ประกอบหลักของสีดอก มีความเหมือนทางพันธุกรรม 78% ส่วนกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ช้างแดงและช้างส้ม มีพื้นสีทึบ พบ kuromanin, pelargonidin-3-O-glucoside, peonidin-3-O-glucoside, delphinidin และ cyanidin เป็นองค์ประกอบหลัก มีความเหมือนทางพันธุกรรม 65.6%en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการวิเคราะห์องค์ประกอบของแอนโทไซยานินและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของดอกกล้วยไม้ช้างen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Anthocyanin Components and Genetic Relationship of Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. Floweren_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สานักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.