Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์มณี สุพรรณวงษ์en_US
dc.contributor.authorกรวรรณ ศรีงามen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:11Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00136_C01048.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64507-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractสารอาหารในน้ำนมเหลืองและน้ำนมมีผลต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของลูกสุกรในระยะดูดนม วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินคุณค่าทางอาหารและภูมิคุ้มกันของนมน้ำเหลืองและน้ำนมของแม่สุกรพันธุ์พื้นเมืองไทยและสุกรลูกผสม โดยทำการเก็บตัวอย่างจากแม่สุกรพันธุ์พื้นเมืองไทย 18 ตัว และแม่สุกรลูกผสม 17 ตัว (ลาร์จไวท์xแลนด์เรซ) ซึ่งมีลูกสุกรพันธุ์พื้นเมือง 184 ตัว และลูกสุกรพันธุ์ผสม 229 ตัว ทำการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการตายในช่วงระยะดูดนม ทำการชั่งลูกสุกรที่อายุ 7, 14 และ 21 วัน การเก็บตัวอย่างนมน้ำเหลืองและน้ำนมจากแม่สุกรโดยการรีดจากเต้านมในเวลาที่ 0, 6, 12, 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังคลอด นำมาใช้ในการวิเคราะห์ ปริมาณของแข็งทั้งหมด โปรตีนรวม เถ้า ปริมาณแลคโตส ไขมันรวม และ อิมมูโนโกลบูลินชนิดจี (IgG) การตรวจวัดปริมาณ IgG ในนมน้ำเหลืองโดยใช้เทคนิค ELISA จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโตและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันของลูกสุกรพันธุ์พื้นเมืองไทย (69.33 ก./วัน) ต่ำกว่าลูกสุกรพันธุ์ลูกผสม (167.67 ก./วัน) (P<0.01) อัตราการตายในช่วง 0 ถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอดของลูกสุกรพันธุ์ลูกผสมต่ำกว่าลูกสุกรพันธุ์พื้นเมืองไทย (3.38% และ 5.70%) แต่อัตราการตายในช่วง 24 ชั่วโมงถึง 3 วัน กลับพบว่าลูกสุกรพันธุ์ลูกผสม (6.51%) มีค่าสูงกว่าลูกสุกรพันธุ์พื้นเมืองไทย (1.11%) ส่วนคุณภาพและส่วนประกอบของทั้งสองสายพันธุ์ พบว่าปริมาณโปรตีนรวม ปริมาณของแข็งรวม และปริมาณเถ้า ในนมน้ำเหลืองของแม่สุกรพันธุ์พื้นเมืองไทยและสุกรพันธุ์ลูกผสมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณไขมันรวมและปริมาณแลคโตสมีความแตกต่างกันตามระยะเวลา (P<0.001) โดยปริมาณไขมันรวมของพันธุ์ลูกผสมมีปริมาณสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญ ที่เวลา 48 และ 72 ชั่วโมง (P<0.05) และ มีความแตกต่างในสายพันธุ์เดียวกันเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น (P<0.001) ปริมาณของแข็งทั้งหมดของน้ำนมสุกรพันธุ์ลูกผสม (26.83%) มีค่าสูงกว่าน้ำนมของสุกรพันธุ์พื้นเมือง (23.91%) ที่ 0 ชั่วโมง (P<0.001) ส่วนปริมาณ IgG ในนมน้ำเหลืองของสุกรพันธุ์พื้นเมืองสูงกว่าสุกรพันธุ์ลูกผสมที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง (95.75, 66.97 และ 70.79, 32.96 มก./มล ตามลำดับ) (P<0.001) และพันธุ์พื้นเมืองมีปริมาณสูงกว่าพันธุ์ลูกผสมที่เวลา 72 ชั่วโมง (P<0.05) ส่วนการวิเคราะห์ความสำพันธุ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโตในช่วง 7 วันหลังคลอดกับส่วนประกอบและคุณภาพของน้ำนมไม่พบความสำพันธ์กัน กล่าวโดยสรุปอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุกรมีผลมาจากสายพันธุ์ และคุณภาพของน้ำนมของทั้งสองสายพันธุ์แตกต่างกันตามระยะเวลาหลังจากการคลอดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพและภูมิคุ้มกันของน้ำนมเหลืองและน้ำนมของสุกรพื้นเมืองไทยและลูกผสมen_US
dc.title.alternativeComparison of Quality and Immunity between Thai Native and Crossbred Pigs in Colostrum and Milken_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume33en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.