Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคณนา อาจสูงเนินen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01020.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64476-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านปงหลวง ปัญหาอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงปลา และแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลา หมู่บ้านปงหลวง ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 ราย เครื่องมือและการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการจัดการอบรมกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ความรู้และระดมความคิดเห็นในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาของบ้านปงหลวงต่อไปในอนาคต ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และความถี่ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาของเกษตรกรเป็นแบบการชำปลา คือนำลูกปลาขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ยไม่เกิน 1 เซนติเมตรมาเพาะเลี้ยงในบ่อดินหรือกระชัง ให้ลูกปลามีขนาดยาวขึ้นประมาณ 2-5 เซนติเมตร เพื่อรอจำหน่ายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเพื่อบริโภค ในบริเวณใกล้เคียงของจังหวัดเชียงราย ลูกปลาที่เกษตรกรเพาะพันธุ์เอง ได้แก่ ลูกปลานิล ปลานวลจันทร์ และปลาตะเพียน นอกจากนั้นเป็นการนำเอาลูกปลาจากแหล่งอื่นมาอนุบาลเพื่อจัดจำหน่าย ได้แก่ ลูกปลาดุกบิ๊กอุย ปลาไน ปลาสวาย ปลาจีน ปลายี่สกเทศ ปลาบึก ปลาแรด ปลาสร้อย ปลาแฟนซีคาร์ฟ ปลาเพี้ย ปลาหมอเทศ ปลาสลิด ปลากราย ปลากดคัง ปลาบู่ และปลากระดี่ ปัญหาอุปสรรคที่เกษตรกรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ราคาอาหารปลาและสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม ปัญหาที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการผสมพันธุ์ สิ่งที่เกษตรกรต้องการพัฒนาด้านการผลิตมากที่สุดคือความหลากหลายของชนิดลูกปลา คุณภาพของลูกปลาที่มีความแข็งแรงและขนาดตัวสม่ำเสมอ ความต้องการอื่นนอกจากด้านการผลิต คือเรื่องการตลาดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการสำรวจรูปแบบการเพาะเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ในหมู่บ้านปงหลวง อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeSurvey of the Perspective of Commercial Fish Culture in Pongluang Village, Wiangchai District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.