Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐธิกา วรรณรัตน์en_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:09Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01014.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64470-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractจากการนำตัวอย่างหัวพันธุ์หอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง จากพื้นที่เพาะปลูก อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาปลูกในดินที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เพื่อสังเกตอาการโรคใบด่างในสภาพโรงเรือน เป็นเวลา 20 วัน ซึ่งจากการประเมินความรุนแรงของโรค 5 ระดับ (0 - 4) พบว่าต้นหอมแดงทั้งหมดแสดงอาการใบด่างเป็นขีดสีเหลืองสลับสีเขียวตามแนวยาวของใบ โดยระดับความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมาคือ ระดับ 1, 3 และ 4 คิดเป็นร้อยละ 28.5, 18 และ 16.5 ตามลำดับ เมื่อนำหอมแดงที่แสดงอาการใบด่างมาทดสอบการถ่ายทอดโรคด้วยวิธีกล พบว่าทำให้เกิดอาการแบบ local lesions ในพืชทดสอบ ได้แก่ Chenopodium amaranticolor, C. quinoa, Celosia argentea และ Cassia occidentalis หลังจากปลูกเชื้อเป็นเวลา 14-20 วัน จากนั้นตรวจสอบชนิดของเชื้อไวรัสในพืชที่แสดงอาการด้วยเทคนิคทางเซรุ่มวิทยา จากการใช้ชุดตรวจไวรัสสำเร็จรูป POCy KIT สำหรับตรวจหาเชื้อ Potyvirus, Odontoglossum ringspot virus (ORSV) และ Cymbidium mosaic virus (CyMV) พบว่าตัวอย่างทั้งหมด ให้ผลบวกกับ Potyvirus และ CyMV จากนั้นยืนยันผลอีกครั้งด้วย เทคนิค ELISA โดยใช้แอนติซีรั่มของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus จากบริษัท Agdia Elkhart, Indiana, USA พบว่า ให้ผลเช่นเดียวกัน และจากการตรวจสอบลักษณะอนุภาคของเชื้อไวรัสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) พบอนุภาคไวรัสลักษณะเส้นยาวคด ขนาดความกว้าง 10 นาโนเมตร ความยาว 600 - 760 นาโนเมตร ซึ่งเป็นขนาดอนุภาคโดยรวมของเชื้อไวรัสในสกุล Potyvirus เมื่อนำหัวพันธุ์หอมแดงดังกล่าวมาทำให้ปลอดไวรัส ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด และตรวจสอบการปลอดโรคด้วยเทคนิค ELISA ด้วยแอนติซีรั่มของ Potyvirus พบว่าการตัด เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.5 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 88 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 78.62 ขณะที่การตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3 มิลลิเมตร มีการปลอดเชื้อไวรัสร้อยละ 100 และมีชีวิตรอดหลังการเพาะเลี้ยงร้อยละ 16.78 นอกจากนี้ จากการทดลองชักนำให้เกิดการแตกกอของต้นหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่า อาหารสังเคราะห์ MS ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถกระตุ้นการแตกกอของหอมแดงได้ดีที่สุด โดยมีอัตราการแตกกอเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ยอดต่อต้น รองลงมาคืออาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการแตกกอเท่ากับ 2.3 ยอดต่อต้น ส่วนอาหารสังเคราะห์ที่เติม 2ip ร่วมกับ NAA ทุกความเข้มข้น พบการแตกกอไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการผลิตหอมแดงปลอดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อen_US
dc.title.alternativeProduction of Virus-free Shallot Using Tissue Culture Techniquesen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume32en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาโรคพืช ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.