Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64403
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วันวิสา เตชะวงค์ | en_US |
dc.contributor.author | เกวลิน คุณาศักดากุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:06Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:06Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=127&CID=940 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64403 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลของน้ำออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolyzed oxidizing water: น้ำ EO) ต่อการลดการเกิดโรคเน่าเละเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผักอินทรีย์ โดยการผลิตน้ำ EO ด้วยเครื่อง Super Oxseed Labo ที่เตรียมได้จากสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความเข้มข้น 0.00625, 0.0125, 0.025, 0.05, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าน้ำ EO มีค่าความเข้มข้นของคลอรีนอิสระอยู่ในช่วง 0.40-137.00 ppm และมีค่า pH ระหว่าง 3.65-4.11 เมื่อวัดค่าความสามารถในการแตกตัวของสารละลาย (electrolyte conductivity; EC) พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 0.49-6.23 mS/cm เมื่อนำเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora ที่แยกได้จากอาการเน่าเละของผักกาดขาวปลี แช่ในน้ำ EO ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นเวลา 1 และ 5 นาที หลังจากบ่มเชื้อบนอาหาร NA เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกกรรมวิธี คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นที่ระดับความเข้มข้น 0.00625 เปอร์เซ็นต์ ที่พบโคโลนีของแบคทีเรียเจริญบนจานอาหารจำนวนน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าเซลล์ของแบคทีเรียที่แช่รวมกับน้ำ EO ทุกความเข้มข้นมีขนาดเล็กลง ยกเว้นความเข้มข้น 0.00625 และ 0.0125 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ใช้น้ำกลั่นฆ่าเชื้อ และจากการคัดเลือกระดับความเข้มข้นของน้ำ EO ที่นำมาใช้ในการเช็ดโคนและรอยตัดของผักอินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหวาน พบว่าที่ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์สามารถลดการเกิดโรคเน่าเละของผักได้ดีที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช และเมื่อนำน้ำ EO ความเข้มข้นดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดโรคเน่าเละกับกับสารฆ่าเชื้อชนิดอื่น ๆ ได้แก่ น้ำโอโซน (ความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์) น้ำผสมด่างทับทิม (อัตราส่วน 0.05 กรัมต่อลิตร) น้ำผสมผงฟู (อัตราส่วน 2.5 กรัมต่อลิตร) และน้ำผสมคลอรีน (ความเข้มข้น 0.02 เปอร์เซ็นต์) พบว่าสามารถลดการเกิดโรคเน่าเละและยืดอายุการเก็บรักษาผักกาดกวางตุ้งและผักกาดหวานได้ดีกว่าสารฆ่าเชื้อที่นำมาทดสอบ ยกเว้นผักกาดฮ่องเต้เล็กที่พบว่าการใช้น้ำผสมคลอรีนได้ผลดีที่สุด | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การใช้นํ้าออกซิไดซ์ที่ผ่านการแยกด้วยไฟฟ้าในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผักอินทรีย์ | en_US |
dc.title.alternative | Using Electrolyzed Oxidizing Water in Controlling Bacteria for Prolonging Storage-life of Organic Vegetables | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 31 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.