Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64398
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ปากประโคนen_US
dc.contributor.authorชูชาติ สันธทรัพย์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:06Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:06Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=127&CID=939en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64398-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาศักยภาพของการใช้ตะกอนของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตครั่งเม็ด เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ได้ดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้อบแห้งตะกอนครั่งต่อคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง โดยใช้อุณหภูมิระหว่าง 35-65 องซาเซลเซียส ในการอบ แล้วจึงนำตะกอนครั่งแห้งที่ได้(ปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง) มาวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของตะกอนครั่งก่อนอบแห้ง ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่ง โดยนำปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องที่แล้วทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งทุกเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งตะกอนครั่ง ควรอยู่ระหว่าง 45-55 องซาเซลเซียส การใช้ความร้อนสูงกว่า 55 องซาเซลเซียส และตํ่ากว่า 45 องซาเซลเซียส จะส่งผลให้สูญเสียอินทรียวัตถุและไนโตรเจน โดยเฉพาะไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมที่สูญเสียถึงร้อยละ 47 และ 72 ตามลำดับ แต่อุณหภูมิของการอบแห้ง มีผลต่อการลดลงของฟอสฟอรัสเพียงเล็กน้อย เมื่อเก็บรักษาปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้งที่ 55 องซาเซลเซียส ที่มีปริมาณความชืน้ ประมาณ 10 ±1เปอร์เซ็นต์ ไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25-30 องซาเซลเซียส) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่งผลให้ค่าความเป็นกรดด่างของปุ๋ยอินทรีย์ครั่งลดต่ำลง 1.4-1.9 หน่วย จากค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้น จากข้อมูลการศึกษาข้างต้นชีใ้ ห้เห็นว่าปุ๋ยอินทรีย์ครั่งที่ได้จากการอบแห้ง มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการใช้ของเสียจากการผลิตครั่งเม็ดเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 1. ผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้งและระยะเวลาการเก็บต่อคุณสมบัติปุ๋ยอินทรีย์ครั่งen_US
dc.title.alternativeUse of Waste Material from Seedlac Production for Producing Organic Fertilizer І. Effects of Drying Temperature and Storage period on Properties of Lac Organic Fertilizeren_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume31en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.